การศึกษาข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ในงานเขียนภาษาอังกฤษและกลยุทธ์ในการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (A Study on Grammatical Errors in English Writing and English Writing Strategies of Liberal Arts English Major Students, Yala Rajabhat University)

Main Article Content

วันทนี แสงคล้ายเจริญ (Wantanee Saengklaijaroen)

Abstract

           การวิจัยเรื่อง การศึกษาข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ในงานเขียนภาษาอังกฤษและกลยุทธ์ในการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับการรับรู้ความผิดพลาดในการเขียนภาษาอังกฤษ และเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบกลยุทธ์ในการเขียนภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษกลุ่มเก่ง 11 คน กลุ่มปานกลาง 23 คน และ          กลุ่มอ่อน 12 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการเขียนขั้นกลางเบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือคือ แบบสอบถามระดับการรับรู้ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาอังกฤษ ตามกรอบแนวคิดโครงสร้างพื้นผิวของ Dulay, Burt and Krashen (1982) และแบบสอบถามที่ดัดแปลงจาก Oxford’s Strategy Inventory for Language Lerarning Version 7.0 สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักศึกษากลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลางทำข้อผิดพลาดด้านการละคำเป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 คือด้านการเพิ่มคำ อันดับที่ 3 คือด้านการใช้รูปแบบผิด อันดับที่ 4 คือด้านการจัดลำดับคำผิดตำแหน่ง ขณะที่นักศึกษากลุ่มอ่อนทำข้อผิดพลาดด้านการละคำเป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 คือด้านการใช้รูปแบบผิด อันดับที่ 3 คือด้านการเพิ่มคำ และอันดับที่ 4 คือด้านการจัดลำดับคำผิดตำแหน่ง

  2. นักศึกษากลุ่มเก่งกลุ่มปานกลางและกลุ่มอ่อนมีระดับการรับรู้ข้อผิดพลาดในระดับปานกลางทุกด้าน

  3. เมื่อเปรียบเทียบระดับการรับรู้ความผิดพลาดในการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษากลุ่มเก่ง  กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  4. นักศึกษากลุ่มเก่งมีระดับการใช้กลยุทธ์ในการเขียนภาษาอังกฤษระดับมากทุกด้านยกเว้นด้านความจำที่มีระดับการใช้อยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่นักศึกษากลุ่มปานกลางและกลุ่มอ่อนมีระดับการใช้กลยุทธ์ในการเขียนระดับปานกลางทุกด้าน

  5. เมื่อเปรียบเทียบกลยุทธ์ในการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษากลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 


           The aims of this research were to analyze English grammatical errors, to study and compare levels of writers’ perception towards their English grammatical errors in writing, and to study and compare English writing strategies. Samples are 11 high proficiency, 23 intermediate proficiency and 12 low proficiency English-major students of Liberal Arts Program who enrolled in the Pre intermediate Writing course. The instruments used in this research were questionnaires of writers’ perception towards their English grammatical errors in writing and questionnaires adapted from Oxford’s Strategy Inventory for Language Learning Version 7.0. Statistics involved were frequency, percentage, mean, standard deviation, and One way ANOVA


            The results of this research were as follows :


  1. For the high and intermediate proficiency students, types of grammatical errors found in their essays with the most frequency were the error of omission, followed by the error of addition, missformation and misordering, respectively. For the low proficiency students, types of grammatical errors found in their essays with the most frequency were the error of omission, followed by the error of missformation, addition and misordering, respectively.

  2. All aspects of writers’ perception towards their English grammatical errors in the writing of high, intermediate and low proficiency students were at a moderate level.

  3. The perceptions of high, intermediate and low proficiency students towards their English grammatical errors in writing were not statistically significant at .05.

  4. The use of English writing strategies of high proficiency students was at a high level except the memory strategy which was at a moderate level. For intermediate and low proficiency students, their use of all English  writing strategies was at a moderate level.

  5. The English writing strategies of high, intermediate and low proficiency students were not statistically significant at .05.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ