รำลึกค่ายโพธิ์สามต้น : เรือรบกู้เอกราชหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ (Memorial to Pho-samton camp : Warship for Restoration of Independence after the Second Defeat of Ayutthaya Kingdom)

Main Article Content

ถนอมจิตร์ ชุ่มวงค์ (Thanomchit Chumwong)
วิโชค มุกดามณี (Vichoke Mukdamanee)

Abstract

               การสร้างสรรค์ประติมากรรมเพื่อพื้นที่สาธารณะ กรณีศึกษาพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ โดยศึกษาผ่านเรือไทยโบราณ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา จากภาพเขียนขบวนเรือราชพิธีทางชลมารค และการบันทึกกล่าวว่าเรือลักษณะเดียวกันใช้เป็นเรือรบ และเหตุการณ์สำคัญครั้งการรบในพื้นที่ค่ายโพธิ์สามต้นหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ “เรือรบไทยโบราณ” จึงเป็นเหตุปัจจัยของแรงบันดาลใจสำคัญแก่การศึกษาสร้างสรรค์ประติมากรรมเพื่อการรำลึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ และเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แสดงความรุ่งเรืองในอดีตกาลอารยะธรรมอยุธยา


               กระบวนการสร้างสรรค์ประติมากรรม ในกรอบทฤษฎีสัญญะศาสตร์ (Semiotic) ที่แทนความหมายสัมพันธ์ทับซ้อน (overlapping) กับวัฒนธรรมลุ่มน้ำ จากภาพเรือไทยโบราณเป็นรูปทรงอ้างอิง (Significance form) ผ่านการพิสูจน์เชิงเปรียบเทียบที่แสดงความชัดเจนอัตลักษณ์วัฒนธรรม เป็นเหตุปัจจัยแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์รูปทรงสัญลักษณ์ (Symbol) โดยกรอบแนวคิดการหวนคิดย้อนหลัง (Retrospection) บนหลักการทางเทคนิคผสมผสานอนุรักษ์ (Conservation Technique)  และหลักการวิธีการผันแปลง (Reformation) สู่รูปทรงกรอบโครงสร้าง (Frame Structure) ที่มีความสัมพันธ์กับผังพื้นที่ลักษณะรูปแบบภูมิศิลป์ (Land Art) เชิงนิเวศวิทยาและธรณีวิทยา ซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนผังพื้นที่ (Landscape) โดยมีกระบวนการออกแบบภายใต้กรอบหลักการศิลปะและสิ่งแวดล้อม (Art and Environment) ทั้งนี้คือ ความสัมบูรณ์ทางนิเวศวัฒนธรรมแบบยั่งยืน รูปแบบความสัมพันธ์การอนุรักษ์วัฒนธรรมเชิงนิเวศ สอดคล้องกับเป้าหมายการสร้างประติมากรรมสาธารณะ ซึ่งเป็นต้นแบบประติมากรรมจำลอง (Sculpture Model Prototyping) จะจัดสร้างขยายเพื่อติดตั้งในพื้นที่โพธิ์สามต้น ตำบลโพธิ์สามต้น อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


 


              The study examines sculpture creation for public space related to a case study of area with historical event.  Ancient Thai boats are explored since they are cultural symbols of Ayutthaya Kingdom as seen from paintings of the Royal Barges.  Moreover, certain historical records indicate that similar boats were used as warships in an important battle at Pho-Samton Camp after the second defeat of Ayutthaya.  For these reasons, “ancient Thai  warship” are significant inspiration of this study to create sculpture for commemorate the historical event as they are the cultural symbols representing the glory of Ayutthaya civilization.


             The process of sculpture creation under semiotic framework demonstrates overlapping relationship between historical event and river culture.  According to the paintings of ancient Thai boats, they are utilized as significance form through a comparative proof to illustrate cultural identity.  Furthermore, they are the inspiration to create symbols under Retrospection framework based on a combination of conservation techniques and frame structure associated with layouts of ecological and geographic land arts. Their functions are similar to the landscape designed under art and environment to be absolute sustainable cultural ecology. EcologicalCulture Conservation Model and concordant with the objective of sculpture creation for public space. This will be used as a sculpture prototyping model installed in Pho-Samton area, Pho-Samton Sub-District, Bang Pahan District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ