การศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยกลยุทธ์น่านน้ำสีครามเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (Research Title: Exploring the Outcome of Using the Learning Process of Blue Ocean Strategy to Prevent Unwanted Pregnancies of Undergraduate Students)

Main Article Content

ธัญญภัสร์ ศิรธัชนราโรจน์ (Thanyaphat Sirathatnararojana)
พรนภา เลื่อยคลัง (Pornnapa Lueaiklang)
นฤมล พระใหญ่ (Narulmon Prayai)

Abstract

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โมเดลกระบวนการเรียนรู้ด้วยกลยุทธ์น่านน้ำสีครามเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีและแบบสอบถามความเข้าใจสาเหตุการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์โดยมีค่าความเชื่อมั่น (α) = .865 ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น มุ่งเน้นให้นักศึกษาเพิ่มระดับความรู้ความเข้าใจการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี ในมิติด้านความคิด (cognitive domain) มิติด้านอารมณ์ (affective domain) และ มิติด้านพฤติกรรม (behavioral domain) ในการสร้าง (Create Grid) และยกระดับ (Raise) คือ การมีเป้าหมายในชีวิต การเห็นคุณค่าในตนเอง และการเคารพตนเอง สิ่งควรจะลด (Reduce) และตัด (Eliminate) ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษาคือ การคบเพื่อนต่างเพศ การคบเพื่อนรุ่นพี่รุ่นน้อง ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีในครอบครัว และ กลุ่มเพื่อนสมัยเรียนมัธยมศึกษา โดยประยุกต์ใช้กระบวนการของกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม (Blue Ocean strategy: BOS) ในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ประกอบด้วย 6 กระบวนการ คือ (1) การวาดภาพบนผืนผ้าใบเชิงยุทธศาสตร์ (2) การวิเคราะห์กรอบดำเนินการสี่ประการ (3) การมองภาพรวมใหญ่ (4) การตื่นตัวเชิงภาพ (5) การแสดงภาพยุทธศาสตร์ ค้นหานวัตกรรมเชิงคุณค่า และ (6) สร้างการดำเนินการในยุทธศาสตร์ กลุ่มทดลองมีจำนวน 1 กลุ่ม เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 18 คน ใช้การเลือกกลุ่มทดลองแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การทดลองแบ่งเป็น 3 ระยะ คือก่อนทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตามผล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Repeated Measures ANOVA   


               ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักศึกษาก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง และระยะติดตามผล มีระดับความรู้ความเข้าใจการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยมีการเปลี่ยนแปลงใน มิติด้านความคิด (cognitive domain) มิติด้านอารมณ์ (affective domain) และมิติด้านพฤติกรรม (behavioral domain) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ซึ่งหมายความว่า หลังการทดลอง และระยะติดตามผลมีค่าเฉลี่ยระดับความรู้ความเข้าใจการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สูงกว่าก่อนทดลอง

  2. ผลการเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยมีการเปลี่ยนแปลงในมิติด้านความคิด (cognitive domain) มิติด้านอารมณ์ (affective domain) และมิติด้านพฤติกรรม (behavioral domain) โดยนักศึกษาระดับปริญญาตีในระยะก่อนการทดลองและระยะหลังการทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง ส่วนหลังการทดลอง และระยะติดตามผล พบว่า ไม่แตกต่างกัน

       3. กลุ่มทดลองมีเป้าหมายในชีวิต การเห็นคุณค่าของตนเอง การเคารพตนเอง และ การสร้างความตระหนักการคบเพื่อนต่างเพศ รุ่นพี่รุ่นน้องในมหาวิทยาลัย ความสัมพันธ์ในครอบครัว และเพื่อนสมัยเรียนมัธยมศึกษาโดยรวมดีขึ้นในระยะหลังการทดลอง และในระยะติดตามผล โดยมีนวัตกรรมเชิงคุณค่า (Value Innovation) ของตนเอง และยังต้องการพัฒนาตนเองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ประกอบการวางแผนเพื่อป้องกัน การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษาในระดับปริญญาตรีร่วมกันของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา การจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ และการดูแลจากครอบครัวหรือผู้ปกครอง


 


          The objective of this research was to explore the outcome of using the learning process of Blue Ocean strategy to prevent unwanted pregnancies of undergraduate students. The research instrument was the learning process model of Blue Ocean strategy to prevent unwanted pregnancies of undergraduate students.  This model was set up by researchers to focus on increasing the level of students’ knowledge and understanding of preventing unwanted pregnancies of undergraduate students in cognitive domain, affective domain, and behavioral domain.  To create and raise was having the life’s goal, seeing one’s own value, and respecting oneself.  The factors, which should be reduced and eliminated, affecting unwanted pregnancies of undergraduate students were associating with friends of opposite sex, associating with juniors and seniors, bad relationship within family, and groups of friends at high schools.  The six processes of Blue Ocean Strategy: BOS employed to prevent unwanted pregnancies were 1) the Strategy Canvas, 2) the Four Actions Framework, 3) Focus on the Big Picture, not the Number, 4) A Visual Awakening, 5) Visual Strategy & Value Innovation, and 6) Build Execution into Strategy. The sample group of this research consisted of 18 undergraduate students who enrolled in the first semester of Year 2016 at Rajabhat Rajanagarindra University. The sample group selection was purposive sampling.  Three stages of experiments were conducted: before experiment, after experiment, and follow up. Repeated Measures ANOVA was used for data analysis.


               The results of this research were:


  1. In terms of the level of knowledge and understanding concerning preventing unwanted pregnancies of undergraduate students, the level before experiment, after experiment, and follow up period were significantly different in statistics at .01 in cognitive domain, affective domain, and behavioral domain. It can be interpreted that the average of level of knowledge and understanding concerning preventing unwanted pregnancies after experiment and follow up period are higher than the level of before experiment.

  2. According to the outcome of comparing the level of knowledge and understanding concerning preventing unwanted pregnancies of undergraduate students with the changes of cognitive domain, affective domain, and behavioral domain, the level of knowledge and understanding before experiment and after experiment were significantly different in statistics at .05 The mean after experiment was higher than before experiment while the mean after experiment and follow up period was not different.

  1. In overall, the sample group has the life’s goal, see one’s own value, respect oneself, realize the importance of associating with friends of opposite sex, with juniors and seniors in the university, the relationship in the family, and with friends at high schools, better in the after experiment and follow up period, with one’s own value innovation, and self-development has been needed increasingly and continually. The result of this research can be used for planning together with university administrators to prevent unwanted pregnancies of undergraduate students, along with the instruction of teachers, and taking good care of parents.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ