ภูมิปัญญาท้องถิ่นของการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ของจังหวัดฉะเชิงเทรา (Local wisdom to Plant culture Manaifera indica Linn in Chachoengsao Province)

Main Article Content

ธัญญภัสร์ ศิรธัชนราโรจน์ (Thanyaphat Sirathatnararojana)
พอเจตต์ ธรรมศิริขวัญ (Porjet Tommasirikwan)
วินัย จันทรวงศ์ (Winai Jantawong)

Abstract

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประชากร คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ในหน่วยงานภาครัฐ คือ เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ พาณิชย์จังหวัด องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และผู้รู้การปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ คือ เกษตรกรชาวสวนมะม่วง ปราชญ์ท้องถิ่น ชมรมชาวสวนมะม่วง สหกรณ์ชาวสวนมะม่วง ปัจจุบันจังหวัดฉะเชิงเทรามีพื้นที่ปลูกมะม่วงทั้ง 11 อำเภอ จำนวน 30,197 ไร่ มีเกษตรกรประมาณ 7,882 ราย กลุ่มตัวอย่าง การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยกำหนดเกณฑ์ในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 1) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ในหน่วยงานภาครัฐ คือ เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ พาณิชย์จังหวัด องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 ราย 2) ผู้รู้การปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ คือ เกษตรกรชาวสวนมะม่วง ปราชญ์ท้องถิ่น ชมรมชาวสวนมะม่วง สหกรณ์ชาวสวนมะม่วง ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ จำนวน 14 ราย รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูล19 ราย คณะผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษาข้อมูลจาก 2 ส่วน คือ 1) การศึกษาเอกสาร ตำรา บทความ วารสาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกมะม่วง และ 2) การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม (Field Data) ใช้วิธีการสังเกต การสำรวจ และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ด้วยเครื่องมือโดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ผลิต ผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้


ผลการวิจัยพบว่า


               ภูมิปัญญาท้องถิ่นของการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ของจังหวัดฉะเชิงเทรา คือ 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นของการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ที่ทนต่อน้ำท่วมของสวนคุณลุงประสานในอำเภอบางคล้า 2) ภูมิปัญญาท้องถิ่นของการฟันลำต้นเพื่อกระตุ้นให้ออกดอกที่สวนคุณลุงประสาน ใช้ในกรณีที่มะม่วงน้ำดอกไม้ 3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นของการใช้ต้นหางไหลแดงปราบศัตรูของต้นมะม่วงน้ำดอกไม้ 4) ภูมิปัญญาท้องถิ่นของการเก็บมะม่วงน้ำดอกไม้และการใช้โอ่งและธูปในการช่วยให้ผิวสวยงาม และ 5) ภูมิปัญญาท้องถิ่นของการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ออกดอกนอกฤดูกาลและเพิ่มผลผลิต


 


              The purposes of this research were to study the local wisdom of planting Barracuda mango (Nam Dok Mai Mango) in Chachoengsao Province. The population consisted of the people of government agencies related to planting Barracuda mangoes such as Provincial Agricultural Extension Office, District of Agricultural Extension Office, Provincial Commercial Office, and Local Administration Organization, and experts of planting Barracuda mangoes including mango agriculturists, local philosophers, the mango grower club, and the co-operative of mango orchard farmers.  Currently, Chachoengsao Province has a total of 30,197 rais of planting mangoes in 11 districts. There are approximate 7,882 mango agriculturists. The 19 key informants of this research were from the purposive sampling by the sample selection criteria of two parts as follows: 1) the people of government agencies related to planting Barracuda mangoes such as Provincial Agricultural Extension Office, District of Agricultural Extension Office, Provincial Commercial Office, and Local Administration Organization, totaling 5 people,  2) the experts of planting Barracuda mangoes including mango agriculturists, local philosophers, the mango grower club, and the co-operative of mango orchard farmers, totaling 14 people.   The qualitative research was conducted by the researchers to study the two parts of data: 1) studying the data from documents, texts, articles, journals etc. related to planting Barracuda mangoes, and 2) collection of field data by observation and in-depth interview with the 19 key informants by group interview. 


The research findings were as follows:


               The local wisdom of planting Barracuda mangoes in Chachoengsao included 1) the local wisdom of planting Barracuda mangoes that tolerate flooding of Uncle Prasarn’s orchard in Bangkhla District, 2) the local wisdom of cutting the trunk to stimulate new growth of mango flowers of Uncle Prasarn’s orchard, 3) the local wisdom of using Tuba Root (Hang Lai Daeng) to kill the pests of Barracuda mangoes, 4) the local wisdom of picking Barracuda mangoes and using the big water jar and incense to keep the mango skin in good condition, and 5) the local wisdom of trimming branches to produce off-season flowers and increase productivity.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ