“สามัญชน” ใน พระราชหัตถเลขาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (“Commoners” in King Chulalongkorn’s Royal Letters from Europe in 1897)

Main Article Content

พรรณราย ชาญหิรัญ (Phannarai Chanhiran)
บาหยัน อิ่มสำราญ (Bayan Imsamran)

Abstract

                บทความนี้มุ่งศึกษาลักษณะของ “สามัญชน” ที่ปรากฏใน พระราชหัตถเลขาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้วิจัยพบว่า พระราชหัตถเลขาฯ ฉบับนี้บันทึก “สามัญชน” ที่มิใช่เจ้าหลายระดับ คือ ผู้ดี ชนชั้นกลาง และไพร่ ทั้งยังมีลักษณะของงานเขียนเชิงชาติพันธุ์วรรณา กล่าวคือมีการสำรวจสามัญชนหลากหลายเชื้อชาติ โดยมีการระบุเชื้อชาติ การอธิบายรูปพรรณสัณฐาน การอธิบายกิริยาท่าทาง ความประพฤติหรืออุปนิสัย ตลอดจนการอธิบายสภาพความเป็นอยู่ เหล่านี้เป็นการเปิดมุมมองแก่ชนชั้นนำสยามเกี่ยวกับความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจมนุษย์ต่อไป


 


                 This article aims to study “commoners” represented in King Chulalongkorn’s Royal Letters from Europe in 1897. It is found that there are several groups of commoners who are not included within the royal family, in this Royal Letters: nobleman, middle class people and Phrai. The Royal Letters can also be regarded as pieces of ethnography describing appearance, mannerism, behavior and living condition of the commoners. The explorations on lives of the commoners expand the Siamese elites’ perspectives on ethnic diversity which better their understanding of human race.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ