พฤติกรรมการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ในเขตกรุงเทพมหานคร (Usage Behavior of PromptPay Financial Services in Bangkok)

Main Article Content

นฤมล จิตรเอื้อ (Naruemon Jituea)

Abstract

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ในเขตกรุงเทพมหานคร และตรวจสอบความสอดคล้องพฤติกรรมในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ในเขตกรุงเทพมหานครกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่ใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 750 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเท เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานผู้วิจัยใช้ดัชนีชี้วัดความกลมกลืน ประกอบด้วย ค่าไค-สแควร์ ค่า GFI  ค่า CFI และค่า RMSEA


               ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20-25 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อาชีพนักเรียน/นักศึกษา สถานภาพโสด รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท รู้จักพร้อมเพย์จากช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เคยใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อม 1-2 ครั้ง/เดือน ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์กับธนาคารไทยพาณิชย์ และส่วนใหญ่ใช้บริการรับ-โอนเงินจากบริการธุรกรรมการเงินระบบพร้อมเพย์ ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการใช้บริการมากที่สุด คือ ความตั้งใจใช้งานพร้อมเพย์ (0.93) รองลงมา คือ บรรทัดฐานทางสังคมการใช้งานพร้อมเพย์ (0.51) และทัศนคติการใช้งานพร้อมเพย์ (0.33) สำหรับผลการตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีความสอดคล้องกัน โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า             ค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 522.25 ที่องศาอิสระ (df) = 570 ระดับความมีนัยสำคัญ (P-Value) เท่ากับ 0.92 ค่าไค-สแควร์ต่อค่าองศาอิสระ (Chi-square/df) เท่ากับ 0.91 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.95 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.94 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกค่า และผลการศึกษายังพบว่า บรรทัดฐานทางสังคมการใช้งานพร้อมเพย์ ส่งผลต่อพฤติกรรมในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ในเขตกรุงเทพมหานคร มีอิทธิพลจากบุคคลที่รู้จักสนิทสนม อิทธิพลจากบุคคลโดยทั่วไปในสังคม รู้จักพร้อมเพย์จากช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ การรณรงค์จากธนาคาร/รัฐบาล และมีความไว้ใจในระบบพร้อมเพย์ที่ธนาคารและรัฐบาลนำเสนออยู่ในระดับมาก


 


                This research aims to study on Usage Behavior of PromptPay Financial Services in Bangkok and to inspect conformity between usage behavior of financial transactions service via ParomptPay in Bangkok and empirical data. The sample group was 750 populations using financial transactions service via ParomptPay in Bangkok. The research tool was questionnaire and statistics used for analyzing data were frequency, percentage, mean, and Standard Deviation. For statistics used for hypothesis testing, the researcher utilized Goodness of Fit Index consisted of Chi-square, GFI, CFI, and RMSEA.


            The results revealed that most samples were females with the age ranged from 20-25 years and they were studying in Bachelor of Arts Program in Social Sciences and Humanities. They were students with marital status as single. Their average monthly income was 10,000-20,000 baht. Get PromptPay with social media. Used with PromptPay 1-2 times/month. Financial transactions with Siam Commercial Bank PromptPay. And most of the service transfer money from PromptPay.The results of hypothesis testing revealed that variable with the highest level of direct influence on usage behavior of services was willing to use PromptPay (0.93)  followed by social norm on the use of PromptPay (0.51), and attitude towards the use of PromptPay (0.33).For the results of the empirical data consistency check, Consistent the data analysis revealed that the Chi-squared was 522.25, Degree of Freedom was 570, P-Value was 0.92, Chi-square/df was 0.91. Comparative Fit Index (CFI) was 1.00, Goodness of Fit Index (GFI) was 0.95, Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) was 0.94 and Root mean Error of Approximation (RMSEA) was 0.00 whereas all values met with the criteria. And the study also found that social norms. Usage of Prompay Affecting the behavior of using financial services through PromptPay system in Bangkok Influenced by intimate acquaintances Influences from people in general in society Know PromptPay from social media channels campaign from banks/government and have trust in the PromptPay system that the bank and government offer at a high level. 

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts
Author Biography

นฤมล จิตรเอื้อ (Naruemon Jituea), สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี