ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ไปสู่การปฏิบัติของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 (Factors Affecting the Successful Implementation of Moderate Class More Knowledge Policy in Schools under Petchaburi Primary Educational Area Office 2)

Main Article Content

ธนิกานต์ กุลเทียมสิน (Tanikan Gultaimsin)
อัญชนา พานิช (Anchana Panich)

Abstract

           วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยการนำนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ไปสู่การปฏิบัติ 2) ความสำเร็จของการนำนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ไปสู่การปฏิบัติ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ไปสู่การปฏิบัติของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 32 คน หัวหน้างานวิชาการ จำนวน 32 คน ครูผู้สอน จำนวน 170 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 234 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน 2) หัวหน้างานวิชาการ จำนวน 5 คน 3) ครูผู้สอน จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ส่วนข้อมูล     เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


               ผลการวิจัยพบว่า


  1. ระดับปัจจัยการนำนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ไปสู่การปฏิบัติ ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับแรก ได้แก่ ด้านการทำงานเป็นทีมรองลงมา ด้านภาวะผู้นำ และด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการควบคุมประเมินผล ส่วนด้านความพร้อมของทรัพยากรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับสุดท้าย ตามลำดับ

  2. ความสำเร็จของการนำนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ไปสู่การปฏิบัติ ทั้ง 3 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับแรก ได้แก่ ด้านสถานศึกษา รองลงมา ด้านนักเรียน และด้านผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับสุดท้าย ตามลำดับ

  3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ ด้านการติดต่อสื่อสาร (X4) ด้านการควบคุมประเมินผล (X5) ด้านความพร้อมของทรัพยากร (X3) และด้านการทำงานเป็นทีม (X2) ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบาย คิดเป็นร้อยละ 69.40 (R2 = .694) ดังสมการ tot =.339 (X4) +.277 (X5) +.170 (X3)+.135 (X2)

this research with objectives to study: 1) the level of factors in TLLM policy implementation, 2) success in TLLM policy implementation, and 3) the factors affecting success in implementation of TLLM Policy of schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2. The 234 research samples consisted of 32 school administrators, 32 heads of academic affair, and 170 teachers. The research tools were a questionnaire and an interview form. The quantitative data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis, whereas the content analysis was used for analyzing qualitative data.


               The research results were as follows:


  1. The opinion on factors in TLLM policy implementation in 5 aspects was overall at a high level. When each aspect was considered, it was found that teamwork was the aspect with the highest mean and the other aspects with lower means were, ranked in descending order of their means, leadership, communication, monitoring and evaluation, and resource availability.

  2. The success in TLLM policy implementation in 3 aspects was overall at a high level. When each aspect was considered, it was found that school was the aspect with the highest mean and the aspect with lower mean was student, whereas the aspect with the lowest mean was parents.

  3. The factors affecting success in implementation of TLLM Policy for 69.40% (R2 = .694) were communication (X4), monitoring and evaluation (X5), resource availability (X3), and teamwork (X2), as the following equation :    tot =.339 (X4) +.277 (X5) +.170 (X3)+.135 (X2).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ