แนวคิดการวางผังเมืองพัทยาเพื่อเป็นเมืองท่องเที่ยวด้านกีฬา (Urban Planning Concepts for Promoting Pattaya As A Sport Tourism Destination)

Main Article Content

รัศมีธรรม มะโนโฮ้ง (Russameethum Manoohong)
ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล (Chaiyasit Dankittikul)

Abstract

               การศึกษาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการวางผังเมืองพัทยาเพื่อเป็นเมืองท่องเที่ยวด้านกีฬา โดยอาศัยการศึกษาแนวคิดการวางผังเมืองท่องเที่ยวด้านกีฬาเป็นหลัก โดยศึกษาจากกรณีศึกษาการวางผังเมืองของต่างประเทศเพื่อสร้างแนวคิดการในวางผังเมืองท่องเที่ยวด้านกีฬาแล้วนำไปเปรียบเทียบกับผังเมืองของเมืองพัทยาในปัจจุบัน


               การศึกษาวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้ตัวแปร 2 ตัวแปร โดยตัวแปรที่ 1 คือแนวคิดการวางผังเมืองท่องเที่ยวด้านกีฬาเป็นการศึกษาแนวคิดการวางผังเมืองกีฬาจากต่างประเทศ ใช้หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกตามหลักการวางผังเมืองที่เกี่ยวข้องคือ แนวคิดการวางผัง การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การวางแผนการคมนาคมขนส่ง และการวางแผนสิ่งแวดล้อม ทำให้ได้เมืองตัวอย่างที่เป็นเกณฑ์ในการศึกษา 2 เมือง จากนั้นใช้ประเด็นในการวิเคราะห์ทั้งหมด 4 ประเด็น ได้แก่ แนวคิดการวางผังเมือง การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินและพื้นที่กิจกรรมด้านกีฬา การวางแผนการคมนาคมขนส่ง และการวางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อทำการวิเคราะห์ประเด็นทั้งหมด ทำให้สามารถสร้างแนวคิดการวางผังเมืองท่องเที่ยวด้านกีฬา และทำการวิเคราะห์ตัวแปรที่ 2 คือผังเมืองพัทยาปัจจุบันในประเด็น 4 ประเด็นข้างต้น เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับแนวคิดการวางผังเมืองท่องเที่ยวด้านกีฬา


               ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผังเมืองพัทยาในปัจจุบันยังไม่สอดคล้องกับแนวคิดการวางผังเมืองท่องเที่ยว ด้านกีฬา โดยได้ทำการเปรียบเทียบในแต่ละประเด็นจากการวางผังข้างต้น ผลปรากฏว่า การวางผังเมืองพัทยามีความสอดคล้องกับการวางผังเมืองท่องเที่ยวด้านเพียง 1 หัวข้อเท่านั้น จาก 4 หัวข้อ ทำให้ชี้ให้เห็นว่าสมมติฐานการวิจัยนั้นถูกต้อง


               ผลจากการสรุปการวิจัยสามารถนำไปสู่ข้อเสนอแนะการปรับปรุงผังเมืองพัทยาเพื่อการเป็นเมืองท่องเที่ยวด้านกีฬา เน้นการพัฒนาหลักการวางผังเมืองให้เป็นรูปธรรมจากทั้ง 4 ประเด็นหลักในการวิจัยเพื่อการนำไปสู่การเสนอแนะการวางผังเมืองพัทยา ให้ผังเมืองของพัทยามีความชัดเจนในการพัฒนาเป็นเมืองท่องเที่ยวด้านกีฬา โดยมีข้อเสนอแนะจากผู้วิจัยและข้อเสนอจากนักวิชาการด้านผังเมืองเพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการวิจัยครั้งนี้


 


               The objective of the study is to find out Urban Planning Concepts for Promoting Pattaya  As A Sport Tourism Destination by resorting to Concepts for Promoting Pattaya As A Sport Tourism Destination mainly. This study explored the case study of Urban Planning in foreign countries to create concepts as a Sport Tourism Destination to make a comparison with Pattaya.


               This research is the qualitative research using 2 variables. The first variable is the main Urban Planning Concepts of a Sport Tourism Destination. The study had begun by Sport Urban Planning studies in foreign countries. There are rules of selection that relate to Urban Planning such as Urban Planning Concept, Land Use Planning, Transportation Planning and Environment Planning. Then, there were two sample cities that would be used in this study. Four points used in the analysis include Urban Planning Concept, Land Use and Sport Benefit Planning, Transportation Planning and Biological and Natural Resources Planning. After the analysis, Urban Planning Concepts were found to guide as Sport Urban Planning Concepts. The second variable is Pattaya Urban Planning based on four points above to compare with Sport Urban Planning Concepts.


               The findings pointed out that Pattaya Urban Planning did not conform to Urban Planning Concepts as a Sport Tourism Destination, making a comparison in each point. It is shown that just only one out of four points of Pattaya Urban Planning conformed to Tourism Urban Planning principles. The hypothesis of the research is them proved correct.


               The result of the study is related the suggestions of improvement for Urban Planning as a Sport Tourism City for Patttaya, focusing on the Development of Urban Planning’s four main points of the study.  The suggestions for Pattaya Urban Planning were aimed for a sport tourism city development. Many suggestions given by  the researcher and the Urban Planning academicians are considered the most useful in this research.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ