การประเมินหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิศวกรรม การผลิตและอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (Evaluation of Bachelor of Science in Technical Education Program in Production and Industrial Engineering of Faculty of Technical Education, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok)

Main Article Content

ชนัญชิดา จันทร์ตรี (Chananchida Jantree)
อภิชาติ ศรีประดิษฐ (Apichat Sripradit)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (พ.ศ.2554) สาขาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต และ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการประเมินหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต(พ.ศ.2554) สาขาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในด้านบริบท


               กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1)  อาจารย์ผู้สอน จำนวน 5 คน
2)  นักศึกษา จำนวน 55 คน 3)  ผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 20 คน และ 4)  นายจ้างของผู้สำเร็จการศึกษาจากสถานประกอบการหรือหน่วยงาน จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์การประเมินหลักสูตร แบบสอบถามการประเมินหลักสูตร วิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลโดยสถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


               ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก(gif.latex?\bar{x}  = 3.89, S.D. = 0.81) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านผลผลิตมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก(  gif.latex?\bar{x}= 4.03, S.D. = 0.69) รองลงมาคือด้านกระบวนการ( gif.latex?\bar{x} = 3.94, S.D. = 0.78) และด้านปัจจัยนำเข้า( gif.latex?\bar{x} = 3.70, S.D. = 0.96) มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) ข้อเสนอแนะจากการประเมินหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ ในด้านบริบท พบว่า ควรมีการปรับปรุงวัตถุประสงค์หลักสูตร เนื้อหารายวิชาให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้น่าสนใจและมีความทันสมัยขึ้น และควรเพิ่มแหล่งเรียนรู้ด้านวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ


 


             The objectives of this research were to 1) evaluate Bachelor of Science in Technical Education Program (B.E. 2554) in Production and Industrial Engineering, Faculty of Technical Education, King Mongkut's University of Technology North Bangkok  in terms of context, input, process and product, 2) to propose the suggestions in evaluating Bachelor of Science in Technical Education Program (B.E. 2554) in Production and Industrial Engineering, Faculty of Technical Education, King Mongkut's University of Technology North Bangkok.


               The key informants consisted of 4 groups including 1) 5 instructors, 2) 55 students, 3) 20 graduates, and 4) 6 employers (establishments and agencies employing graduates). The research instruments consisted of program evaluation questionnaire and interview. Data were analyzed by using basic statistics and content analysis. Statistics used in data analysis were mean and standard deviation.


              The results of this research indicated as follows: 1) overall quality of Bachelor of Science in Technical Education Program in Production and Industrial Engineering was at a high level (  gif.latex?\bar{x}= 3.89, S.D. = 0.81). When individual aspects were considered, product was at a high level ( gif.latex?\bar{x} = 4.03, S.D. = 0.69), followed by process (  gif.latex?\bar{x}= 3.94, S.D. = 0.78), input ( gif.latex?\bar{x} = 3.70, S.D. = 0.96), respectively. 2) the suggestions of this research include in terms of context, the course objectives should be improved. Course content should be consistent with the changing context to be interesting and modern. The number of learning resources in Production and Industrial Engineering should be increased.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2555). หลักสูตรครุศาสตร์
อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
https://www.kmutnb.ac.th/academics/program.aspx.
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม และ สมาธิ นิลวิเศษ. (2561). “การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
สนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร”. Veridian E-Journal,
Silpakorn University 11,2 ( พฤษภาคม – สิงหาคม ) : 1946-1957.
นิวัฒน์ บุญสม และคณะ. (2560). “การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร”. Veridian E-Journal, Silpakorn University 10,1 (มกราคม
– เมษายน): 786-806.
พงศ์เทพ จิระโร. (2558). “การวิเคราะห์การจัดการศึกษาของประเทศไทยในระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรสาขา
วิจัยการศึกษา วัดและประเมินผลการศึกษา และสถิติการศึกษา”. Journal of Education,
Burapha University 26,2 ( พฤษภาคม – สิงหาคม ) : 145-158.
สิทธิชัย ลายเสมา และคณะ. (2561). “การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
คณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร”. Veridian E-Journal, Silpakorn University 11,1
( มกราคม – เมษายน ) : 2386-2403.
สุนทร อารยะปรีชา และคณะ. (2554). การพัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชานักบินให้สอดคล้องกับ
การศึกษาภาควิชาการและการฝึกบิน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.thailis.or.th/tdc/.
สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู และคณะ. (2559). “การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา
ปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร”. Veridian E-Journal, Silpakorn University
9,3 ( กันยายน – ธันวาคม ) : 557-572.
อรวรรณ บุญยฤทธิ์ และคณะ. (2558). “การประเมินผลความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่มีต่อ หลักสูตร
ศิลปศาสตรบัณฑิต คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2554”. Veridian
E-Journal, Silpakorn University 8,2 ( พฤษภาคม – สิงหาคม ) : 2466-2480.