แรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย (Motivation and Work Performance Related of Security Guard Employees)

Main Article Content

สุมานันท์ สกุลดี (Sumanan Sakuldee)
ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา (ChinnasoVisitnitikija)

Abstract

             การศึกษาเรื่องแรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย ระดับประสิทธิผลใน การปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย เปรียบเทียบประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานรักษา  ความปลอดภัยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลและความสัมพันธ์ระหว่าง แรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย ประชากรในการศึกษาคือ พนักงานรักษาความปลอดภัย เลือกตัวอย่างจำนวน 350 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา และนำข้อมูลที่รวบรวมได้ประมวลผลโดยใช้ สถิติ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t- test การวิเคราะห์แบบ ANOVA ใช้ F-test, (One-way ANOVA) และ Multiple Regression Analysis


               ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 21-25 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ม.3-ม.6 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-20,000 บาท มีอายุงาน 4-6 ปี ผลการทดสอบสมมติฐาน ภาพรวมปัจจัยจูงใจอยู่ในระดับสำคัญมาก ประกอบด้วย ด้านความก้าวหน้า ด้านความรับผิดชอบ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านความสำเร็จในการทำงานของบุคคล ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ และภาพรวมปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับสำคัญมากประกอบด้วย ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความมั่นคงในงาน ด้านสภาพการทำงาน ด้านโอกาสที่ได้รับความก้าวหน้าในอนาคต ด้านเงินเดือน ด้านวิธีการปกครองบังคับบัญชา ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านความเป็นอยู่ส่วนตัว และภาพรวมประสิทธิผลอยู่ในระดับมากประกอบด้วย ด้านทัศนคติของบุคคล ด้านการตั้งใจจะลาออก ด้านผลการปฏิบัติงาน ด้านผลิตภาพของแต่ละบุคคล ด้านความเครียด ด้านการขาดงาน ผลการทดสอบสมมติฐานและข้อมูลส่วนบุคคลด้านเพศที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยไม่แตกต่างกัน และอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุงานที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยแตกต่างกัน ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


               ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา ผู้บริหารบริษัทควรมีการพัฒนาความรู้ ความสามารถ โดยการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานที่ทำ ให้กับพนักงานรักษาความปลอดภัยอย่างทั่วถึง เพื่อที่จะไปเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ และมีการกำหนดนโยบายอย่างชัดเจนเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จัดทำประกาศชมเชย ยกย่อง พร้อมกับให้เงินรางวัล ให้กับพนักงานรักษาความปลอดภัยที่มีผลงานดี ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน ควรให้ความสำคัญกับทุกด้าน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงานรักษาความปลอดภัยได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องต่อไป


 


                The purposes of this study were to determine work motivational and the level of work performance effectively of security guard employees and compare effectively  classified by personal information of security guard and relationships motivation and work performance related of security guard employees. The sampling groups were 350 security guard employees by using questionnaire as a tool to collect information and data was analyzed for both descriptive and inferential statistics, namely percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA, f-test, and multiple regression analysis were reported.              


               Findings indicated that most of respondents were male, aged between 21-25 years old, married status, earned high school or less diploma, earned an average monthly income of 15,001-20,000 baht, and worked in this occupation between 4-6 years. The hypothesis testing results revealed that the overall picture of the opinions on work motivation were at a high level which consisted of career advance, responsibility, work descriptive, work complete, and respect by other. The important level of Hygiene factors consisted of administrative and mission of corporation, relationship of workers, job security, job environment, opportunity of career progressive, salary and fringe benefit, relationship with superiors, and privacy. The overall picture of the opinion on work effective of security guard employees were at a high level consisted of personnel opinion, personnel achievable, work stress, and job absent. The hypothesis testing results revealed that the personal different as gender was not affected performance, but the personal different, such as age, marital status, level of education, average income, and period of work affected the work performance at a statistically significant 0.05 level.


               Recommendations from the study results were that administrative officers should provide career path, such as work training, regulate clearly company policy, reword and announce best employees, and support hygiene factors in order to gain the better level of work performance.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ