การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์การของพนักงานกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล: การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ (The Development of Causal Model of Organizational Commitment of Retail Business Employees in Bangkok and Vicinity: Analysis of Multi-Level Equation Model)

Main Article Content

สุทธิพงษ์ เกียรติวิชญ์ (Suttipong Kiartivich)

Abstract

              การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และพัฒนาและตรวจสอบโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ พนักงานกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 520 คน ได้จากการกำหนด 20 เท่าของจำนวนตัวแปรศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม (Questionnaire) การเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดยใช้การส่งออนไลน์ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุ ด้วยโปรแกรม SEM ระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล พบว่า มีความตรงเชิงโครงสร้างหรือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบ ความตรงของโมเดล ได้แก่ χ 2 = 61.673, df = 50, χ 2 / df = 1.241, p-value = 0.135, CFI = 0.997 , TLI = 0.993, RMSEA = 0.015, SRMRB = 0.016, SRMRW = 0.036 แสดงว่าองค์ประกอบของ ความผูกพันต่อองค์การมีความเหมาะสมที่จะนำไปวิเคราะห์พหุระดับ ผลการพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติประกอบด้วย χ2= 1669.888, df = 832, p-value =0.000, CFI = 0.959, TLI = 0.968, RMSEA = 0.033, SRMRW = 0.025, SRMRB = 0.650 และ χ2/df =1.745 และผลการประมาณค่าขนาดอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของตัวแปรในโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับความผูกพันต่อองค์การ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (AMO) ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) การจัดการความรู้ (KM) เป็นสาเหตุของความผูกพันต่อองค์การของพนักงานกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล


 


              The purpose of this paper is to analyze the determinants of organizational commitment of retail business employees in Bangkok and its suburbs. Development and validation of multivariate structural equation model. Factors influencing organizational commitment of retail business employees in Bangkok and its vicinity. The research population was 520 employees in the Bangkok metropolitan area. Sampling was conducted using simple random sampling. The data were collected by questionnaire. (Questionnaire) Data collection is done using online submissions. Confidence factor analysis of organizational commitment of retail business executives in Bangkok and its vicinity was found to be structurally consistent or consistent with empirical data. Determine the value of the check. Model accuracy: χ 2 = 61.673, df = 50, χ 2 / df = 1.241, p-value = 0.135,  CFI = 0.997 , TLI = 0.993, RMSEA = 0.015, SRMRB = 0.016, SRMRW = 0.036 the composition of Organizational commitment is appropriate for multiple levels of analysis. The development and validation of the multivariate model of factorial effect on organizational level of retailers in Bangkok and its vicinity revealed that the model was consistent with the empirical data. The statistics include: χ2= 1669.888, df = 832, p-value =0.000, CFI = 0.959, TLI = 0.968, RMSEA = 0.033, SRMRW = 0.025, SRMRB = 0.650 และ χ2/df =1.745 The results of direct and indirect influence size estimation in multicomponent equation model.  Emotional Intelligence, Knowledge Management is the initiative of employees in Bangkok.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ