ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 (Factors Affecting Self-development on Teachers under Prachuapkhirikhan Primary Educational Service Area Office 2)

Main Article Content

วิทยา บุญละดี (Wittaya Boonladee)
มณฑา จำปาเหลือง (Monta Jumpaluang)

Abstract

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับแรงจูงใจและวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 2) ระดับการพัฒนาตนเองของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ พัฒนาขึ้นตามแนวคิดของจันทรานี สงวนนาม อับราฮัม มาสโลว์  และคุ๊กและลาฟเฟอร์ตี้ โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.909 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


               ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับแรงจูงใจของข้าราชการครู โดยรวมมีแรงจูงใจอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ แรงจูงใจภายใน แรงจูงใจภายนอก และแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ส่วนวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ของข้าราชการครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ มุ่งเน้นบุคคลและการสนับสนุน มุ่งเน้นความสำเร็จ มุ่งเน้นสัจการแห่งตน และมุ่งเน้นไมตรีสัมพันธ์ ตามลำดับ 2) การพัฒนาตนเองของข้าราชการครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ การอบรม การศึกษาต่อ และการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามลำดับ และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของข้าราชการครู ได้แก่ ด้านมุ่งไมตรีสัมพันธ์ (X24) ด้านแรงจูงใจภายนอก (X12)  ด้านมุ่งเน้นสัจการแห่งตน (X22) และด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (X13) ได้ค่าประสิทธิภาพในการทำนายที่ปรับแล้ว ร้อยละ 51.20 สามารถเขียนเป็นสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ tot = 0.178 + 0.330(X24) + 0.247(X12) + 0.219(X22) + 0.161(X13)


 


              The purpose were to study: 1) the level of teachers’ motivation and the constructive organizational culture on teachers under Prachuap Khiri Khan Primary Educational Service Area Office 2, 2) the level of self-development of teachers under Prachuap Khiri Khan Primary Educational Service Area Office 2 and 3) the factors affecting self-development on teachers under Prachuap Khiri Khan Primary Educational Service Area Office 2. The research samples were the administrators and teachers, total 200 people in the schools under Prachuap Khiri Khan Primary Educational Service Area Office 2. The research tool was a 5-level rating scale questionnaire, based on the concept of Jantanee Sanguannam, Abrahm Maslow, and Cook and Lafferty with reliability at 0.909. The data were analyzed by using mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis


               The research results were as follows: 1) The level of teachers’ motivation, the overall was at the highest level. The considering by ranking from the highest to the lowest mean was as follows; the intrinsic motivation, the extrinsic motivation and the job performance motivation. The constructive organizational culture on teachers, the overall was at the highest level. The considering by ranking from the highest to the lowest mean was as follows; the humanistic-encouraging, the achievement, the self- actualizing and the affinitive, 2) The level of teachers’ self-development, the overall was at the highest level. The considering by ranking from the highest to the lowest mean was as follows; the training, the continuing education and the self-directed learning, and 3) The factors affecting self-development on teachers as follows; the affinitive (X24), the extrinsic motivation (X12), the self- actualizing (X22) and the job performance motivation (X13) with the adjustment of prediction value was 51.20 percent. The prediction equation in the form of raw score: tot = 0.178 + 0.330(X24) + 0.247(X12) + 0.219(X22) + 0.161(X13).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ