พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอนเกาะหมาก จังหวัดตราด (Behavior and motivation of foreign tourists which affect low-carbon tourist attractions in Koh Mak Island, Trat province)

Main Article Content

อุมาพร บุญเพชรแก้ว (Umaporn Boonphetkaew)
อิสระพงษ์ พลธานี (Issarapong Poltanee)
กมลวรรณ อยู่คำ (Kamonwan Youkam)
ปลิดา รู้วัชรปกรณ์ (Palida Ruvacharapakorn)
ปิยะวรรณ มาก่อเกียรติ (Piyawan Makokiat)
ยูธิกา ด่านภู่วงศ์ (Yutika Danphuwong)
อฑิติยา ตรึกดี (Athitiya Trukdee)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอนที่เกาะหมาก จังหวัดตราด 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีต่อแหล่งท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอนที่เกาะหมาก จังหวัดตราด 3) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีต่อแหล่งท่องเที่ยวแบบ โลว์คาร์บอนที่เกาะหมาก จังหวัดตราด กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยคือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่เกาะหมาก จังหวัดตราด จำนวน 400 คน  โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างโดยคำนึงถึงความน่าจะเป็น และใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ในการอธิบายข้อมูลพื้นฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน t-test และ F-test ในการทดสอบสมมติฐาน  


               ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 25 - 34 ปี ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานเอกชน รายได้สูงกว่า 20,100 เหรียญสหรัฐ มาจากทวีปยุโรป พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางมาครั้งแรก และเดินทางมาท่องเที่ยวเกาะหมาก จังหวัดตราด เพื่อสัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอน มีระยะเวลาในการท่องเที่ยว 1 - 5 วัน โดยจะเดินทางมากับคู่รัก งบประมาณค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อวันมากกว่า 10,001 บาท มีการวางแผนรูปแบบการเดินทางด้วยตนเอง โดยการหาแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับเกาะหมาก จังหวัดตราด จากอินเทอร์เน็ต และจะกลับมาท่องเที่ยวเกาะหมาก นอกจากนั้นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอน เกาะหมากจังหวัดตราดที่มี เพศ ต่างกันมีแรงจูงใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ส่วนระดับการศึกษา รายได้ และอาชีพที่แตกต่างกัน มีแรงจูใจที่เป็นแรงผลักดัน และปัจจัยดึงดูดของอายุในการเดินทางท่องเที่ยวแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 


 


               The aims of this study are as follows: 1) To study the tourism behaviour of foreign tourists towards low-carbon tourism in Koh Mak Island, Trat province. 2) To study motivation patterns in tourism among foreign tourists towards low-carbon tourism in Koh Mak Island, Trat province. The people within this study were foreign tourists whom came to Koh Mak Island, Trat province for the purpose of travel. The amount of people studied was 400. The tool which was used for the study was a set of questionnaires. The statistics were selected and analysed by calculating the median and using standard deviation, which was then converted into percentages. Analysis of t-test and F-test in hypothesis testing.


               The study found that the groups of tourists studied were mainly men who were between 25-34 years old. They were largely from Europe and graduated with a bachelor's degree. The Majority of them were employees of private companies. Their salary per year was higher than 20,100 US Dollars. Most of the studied tourists shared the same tourism behaviour which was travelling in Koh Mak Island for the first time. Their purpose of travel was to experience low-carbon tourism. The amount of days they spent travelling was between 1- 5 days. They traveled as couples and spent more than 10,001 baht a day on the island. The tourists planned the itinerary by themselves. They mainly traveled to the island on weekends. The tourists obtained the information of tourist attractions on the island from the internet. Their main purpose on the island was sunbathing. They would like to come back again if an opportunity arises in the future. The most important aspect which made low-carbon tourism in Koh Mak Island, Trat province attractive was the beautiful beach, sea and nature, which were well preserved. The tourist attractions on the island were safe for travelling and low-carbon tourism advertisement were the second and the third important aspects respectively. In addition, Moreover, the result found that foreign tourists who traveled to Koh Mak Island in the form of low-carbon tourism with different genders, there were no statistically significant differences (at the level of 0.5).  Considering different levels of education, income, and career, motivation is the driving force and factors influencing travel time were statistically significant differences at the level of 0.05.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ