ภาพลักษณ์เจ้าเมืองในวรรณกรรมค่าวซอและปัจจัยในการสร้างสรรค์ (The Images Of Kings In Khao Sor Literature)

Main Article Content

ภัคพล คำหน้อย (Pakkapon Khamnoy)
ปัทมา ฑีฆประเสริฐกุล (Pattama Theekaprasertkul)

Abstract

                บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์เจ้าเมืองในวรรณกรรมค่าวซอ และปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างภาพลักษณ์เจ้าเมืองในวรรณกรรมค่าวซอ ผลการศึกษาคุณลักษณะและพฤติกรรมของเจ้าเมืองในวรรณกรรมค่าวซอ พบว่า ภาพลักษณ์เจ้าเมืองในวรรณกรรมค่าวซอสามารถจำแนกได้ 8 ภาพลักษณ์ คือ ภาพลักษณ์การเป็นผู้ปกครองเมือง ภาพลักษณ์พระโพธิสัตว์ ภาพลักษณ์เจ้าเมืองล้านนา ภาพลักษณ์ผู้มีบุญ ภาพลักษณ์ผู้มีของวิเศษและอำนาจวิเศษ ภาพลักษณ์ผู้มีวิชาปัญญา ภาพลักษณ์ผู้มีจริยธรรม และ ภาพลักษณ์ ผู้มีรูปงาม ทั้งนี้ภาพลักษณ์ของเจ้าเมืองในวรรณกรรมค่าวซอนั้น กวีได้สร้างสรรค์ขึ้นให้มีความแตกต่างไปจากเจ้าเมืองทั่วไป  โดยมีปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างภาพลักษณ์เจ้าเมืองในวรรณกรรมค่าวซอที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ปัจจัยที่มาจากแนวคิดของนิทานมหัศจรรย์ ปัจจัยที่มาจากแนวคิดของนิทานชาดก และ ปัจจัยที่มาจากสังคมล้านนา ทำให้ภาพลักษณ์เจ้าเมืองในวรรณกรรมค่าวซอมีลักษณะที่พิเศษและโดดเด่นจากเจ้าเมืองในวรรณกรรมล้านนาอื่น


 


                This article aims to study the images of kings in Khao Sor literature and the factors contributing to the images of the kings in Khao Sor literature. The study of the characteristics and actions of kings in Khao Sor literature found that the images of kings are divided into eight images including the ruler image, the Buddha image, the Lanna ruler image, the meritorious image, the supernatural image, the knowledgeable image, the ethical image and the beauty image. The images of kings are influenced by three factors originated from magical tales, Jataka Tales and Lanna society. These factors create distinct characteristics for Khao Sor literature and make the literature stands out from other northern literatures.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ