ปัจจัยเสี่ยงและความเปราะบางทางสังคมของเยาวชนต่อการติดพนัน (Risks and Social Vulnerability of Youth on Gambling) Risks and Social Vulnerability of Youth on Gambling

Main Article Content

กาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์ (Kannapa Pongponrat)

Abstract

               บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงและความเปราะบางทางสังคมของเยาวชนต่อการติดพนันซึ่งครอบคลุมมิติทั้งระดับครอบครัว ระดับชุมชน และระดับสังคม งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ใช้วิธีเก็บข้อมูลจากการสำรวจพื้นที่เป้าหมายโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มย่อยกับกลุ่มตัวแทนซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากชุมชนพื้นที่เสี่ยงห้าชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่านอกจากปัญหาภายในครอบครัวที่ทำให้เยาวชนขาดที่พึ่งหรือที่ปรึกษาแล้ว ยังมีสิ่งเร้าภายในชุมชนที่เยาวชนอาศัยอยู่กระตุ้นให้เข้าสู่การพนัน ถึงแม้จะมีการจัดโครงการส่งเสริมและสนับสนันแก้ไขปัญหาการพนันในชุมชนแต่ยังขาดความต่อเนื่องของโครงการและความร่วมมือจากคนในชุมชน จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะให้ ควรส่งเสริมให้เกิดนโยบายในการคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาการพนันและสร้างการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ได้ตระหนักถึงผลกระทบทางสังคมจากประเด็นการพนันในสังคมไทย โดยมีการกำหนดมาตรการการมีส่วนร่วมในจัดการปัญหาการพนัน ตลอดจนถึงการสนับสนุนให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินโครงการเยียวยาช่วยเหลือและเข้าไปศึกษาภูมิหลังของผู้เล่นการพนันในด้านสถานภาพของเศรษฐกิจและสังคมเพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุดต่อไป


 


               This paper is a part of qualitative research project, aiming to assess risk factors and social vulnerabilities leading youth into gambling. The study conducted field survey at five target communities by using qualitative research methods included in-depth interview and focus group discussion to collect data. Target population included representatives from youth group, parents, and civil servants. Findings showed that risk factors and social vulnerabilities included family problem, existing gambling business within community, and acceptance among youth group, depressive situation, and even needing of money for living.  Although there are various projects launched by government, trying to solve gambling problem in community, but there are limitations of community participation and continuing of projects. Therefore, there is a need to formulate participatory process with community itself to solve gambling problem especially in youth group which will reflect to their future.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts