การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning รายวิชาการบริหาร และการประกันคุณภาพการศึกษา (Development of learning Management with Active Learning Process course Management and Educational Quality Assurance)

Main Article Content

ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์ (Nattawan Limprasong)

Abstract

                   การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning รายวิชาการบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา 2) ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning รายวิชาการบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา และ3) ยืนยันรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning ที่สร้างขึ้นเป็นพหุองค์ประกอบ มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์ และมีความถูกต้องครอบคลุม กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลจากการเลือกแบบเจาะจงเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 สาขาวิชาภาษาไทยและสาขาวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จำนวน 56 คน และจากการสัมมนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 กิจกรรม คือกิจกรรมที่ 1 เสนอโครงการและศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning จัดสัมมนารอบที่ 1 กิจกรรมที่ 2 จัดสัมมนารอบที่ 2 ปรับโครงร่างจากรอบที่ 1 นำรูปแบบไปทดลองใช้ และยืนยันรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ แบบสอบถาม แบบบันทึกการจัดการเรียนรู้ สถิติ ที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ (f) ค่าเฉลี่ย () ค่าร้อยละ (p) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัย พบว่า


  1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning รายวิชาการบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษาที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับดี สามารถนำไปบูรณาการในรายวิชาอื่นๆ ได้ มีค่าเฉลี่ย (= 4.43, S.D. = 0.563) ประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 4 องค์ประกอบ วิธีปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ และผลที่เกิดขึ้นจากทักษะการเรียนรู้ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ขั้นสร้างการรับรู้ (Perception : P) 1) ผู้สอนใช้สื่อแผ่นภาพ โจทย์สถานการณ์สร้างความสนใจ และตั้งคำถามให้ผู้เรียนวิเคราะห์เพื่อทบทวนความรู้เดิม และนำเข้าสู่บทเรียน 2) ผู้สอนรวบรวมประเด็นที่ได้จากการวิเคราะห์ สรุปเป็นแผนผังความคิดอธิบายเพิ่มเติมเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน องค์ประกอบที่ 2 ขั้นประมวลผล (Processing : P) 1) ผู้เรียนเรียนรู้เนื้อหาสาระจากเอกสาร รายงาน สร้างองค์ความรู้จากแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของทอร์แรนซ์ แนวคิดการเรียนรู้แบบภควันตภาพ หลักการของการวัดและการประเมินผลการศึกษา การสืบค้นโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ค ฯลฯ ผู้สอนบรรยายเสริมเพื่อความเข้าใจ 2) ผู้เรียนปฏิบัติตามข้อตกลงของการแบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้า การนำเสนอหน้าชั้นเรียน เสนอแนะ อภิปรายปากเปล่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติม 3) ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดโดยการตั้งประเด็นคำถามและประเมินผู้เรียนในการปฏิบัติกิจกรรมตามตารางการบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 3 ขั้นประยุกต์ใช้ (Applying : A) 1) ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการนำเสนอ อภิปรายปากเปล่า สรุปแผนที่ความคิด 2) ผู้สอนตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนบูรณาการความรู้ไปสู่การใช้งานในชีวิตประจำวัน องค์ประกอบที่ 4 ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) 1) ผู้สอนตั้งคำถามเพื่อทบทวนความรู้ ความคิดในเนื้อหา 2) ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้ บันทึกเป็นแผนที่ความคิดด้วยตนเอง 3) ผู้สอนประเมินผลสำเร็จจากกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน และผลที่เกิดขึ้นจากทักษะการเรียนรู้ได้แก่ 1) การเรียนรู้ในปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  2) ทักษะการคิดแก้ปัญหาร่วมกัน 3) การพัฒนาทักษะการใช้เครื่องมือสื่อสาร 4) ทักษะการสื่อสารด้วยวาจา และ5) การแสดงออกในเชิงวิชาการ

  2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning รายวิชาการบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) = 4.17, (S.D.) = 0.756)

  3. ผลการยืนยันรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning ด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน พบว่า ในเชิงปริมาณมีความคิดเห็นว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นทั้ง 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ขั้นสร้างการรับรู้ องค์ประกอบที่ 2 ขั้นประมวลผล องค์ประกอบที่ 3 ขั้นประยุกต์ใช้ องค์ประกอบที่ 4 ขั้นประเมินผล และผลที่เกิดขึ้นจากทักษะการเรียนรู้ เป็นพหุองค์ประกอบ มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์ และมีความถูกต้องครอบคลุมตามแนวคิดทฤษฎีของทอร์แรนซ์ การจัดการเรียนรู้แบบภควันตภาพ และการอภิปรายทดสอบแบบปากเปล่าคิดเป็นร้อยละ 100 และการยืนยันในเชิงคุณภาพ พบว่า สามารถนำไปเป็นต้นแบบในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้โดยนำกระบวนการเหล่านี้ไปปรับใช้กับรายวิชาอื่นๆ และสามารถนำไปใช้กับสถานศึกษาที่มีความพร้อมในด้านสื่อเทคโนโลยีเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดความรู้เฉพาะที่ครูสอนบรรยาย ซึ่งส่งผลให้บรรยากาศการเรียนรู้แบบเดิมๆ น่าเบื่อหน่ายหมดไป

 


             This research Is a research to develop Integrated research method The first step is qualitative research. And the last step is quantitative research with the objectives to 1) create a model for learning management development by using the Active Learning process, administrative and educational quality assurance courses 2) Experimental development model Learning management with Active Learning process course management and educational quality assurance and 3) confirm the development of learning management by using the Active Learning process created as a multi-element appropriate There is a possibility being useful and accurate covering. The sample group that provided information from a specific selection was the fourth year student enrolled in the course of administration and educational quality assurance 1st semester academic year 2018. Department of Thai Language and the Department of Career and Technology Faculty of Education Phetchabun Rajabhat University totaling 56 persons and from the seminar of 5 qualified groups. The operation is divided into 2 activities are : 1 offering the project and studying the development of learning management model with Active Learning process and group seminars by round 1 experts active Learning 2: Organize round 2 of seminars, adjust the outline from Round 1 take the form to experiment. And confirm the learning management development model with Active Learning process. The research instrument is a semi-structured interview, Seminar for qualified experts ‘questionnaires learning management records. The statistics are frequency, mean, percentage, standard deviation and content analysis.


               The results of the research were as follows:


  1. 1. The learning management model by the Active Learning process, the course of administration and educational quality assurance created at a good level Can be integrated into other courses with an average value (= 43, S.D. = 0.563) consisting of learning processes 4 elements of learning management practices And the result of learning skills as follows: Element 1 Perception : P) 1) Instructors use visual media. Problematic situations create interest and ask questions for students to analyze to review their previous knowledge and bring it into the lesson 2) The instructor gathers the issues from the analysis conclusion is a map of additional explanatory ideas to be introduced into the lesson. Element 2 Processing : P 1) Learners learn content from the reports, create knowledge from the concepts of Torrance's learning management. Concept of learning by day Principles of educational measurement and evaluation Search by using information technology, internet, smart phones, tablets, notebooks, etc. Instructors’ supplementary lectures for understanding. 2) Learners follow the terms of the study grouping. Presentation of classes, suggestions, oral discussions, exchanges, learning more 3) Instructors encourage students to think by setting issues, questions and assessing learners in performing activities according to the schedule of learning management results. Element 3 Applying : A) 1)The learner summarizes the knowledge gained from the presentation. Oral discussion Conclusion of the mind map 2) Instructors ask questions to allow learners to integrate knowledge into daily use. Element 4 Evaluation : E  1) Instructors set questions to review knowledge. Ideas in the content 2) Learners summarize knowledge Recorded as a self-concept map 3) The teacher evaluates successfully from the learning activity of the learner. And the consequences of learning skills include 1) learning in the problems that will occur in the future 2) thinking skills, solving problems together 3) developing skills in using communication tools  4) verbal and communication skills 5) Academic expression.

  2. The results of the experiment using the learning management model by the Active Learning process. The subjects of administration and educational quality assurance showed that the students were satisfied at the level of The Group had an average (gif.latex?\bar{x}) = 4.17, (S.D.) = 0.756)

  3. The results of the confirmation of the development of learning management using Active Learning process with 9 experts found that in terms of quantitative opinions that form of learning management that is created in all 4 elements is the 1st element. Element 2, Composition, Step 3, Application Process Element 4 Evaluation And the consequences of learning skills Is a multiple element Appropriate There is a possibility, useful and accurate, according to the Torrance theory Day-to-day learning management And a 100 percent oral test discussion and qualitative assertion found that it can be used as a model for learning in the 21st century by applying these processes to other courses And can be used with educational institutions that are ready for technology media in order to encourage students to learn extensively Not limited to the specific knowledge that the teacher lectures Which results in the original learning atmosphere Boring

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts
Author Biography

ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์ (Nattawan Limprasong), คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

นางสาวณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์  อาจารย์ประจำ คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยรชภัฏเพชรบูรณ์ 

83 ถนนสระบุรี - หล่มสัก  ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง  67000