อิทธิพลของความแตกต่างระหว่างเพศและบุคลิกภาพที่มีต่อเสียงดิจิตอลที่เร้าอารมณ์ ด้านการมีอิทธิพลในผู้ใหญ่ตอนต้น: การศึกษาเชิงพฤติกรรม (The Influence of Gender and Personality Differences on Dominance Emotional Digitized Sounds in Young Adults: Behavioral Study )

Main Article Content

พันธุ์ธัช ศรีทิพันธุ์ (Phanthad Srithiphan)
เสรี ชัดแช้ม (Seree Chadcham)
พูลพงศ์ สุขสว่าง (Poonpong Suksawang)
ศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์ (Sarawin Thepsatitporn)

Abstract

            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบแผนการทดลอง Between-Subjects approach 2 X 2 Factorial posttest Design มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในผู้ใหญ่ตอนต้น จำแนกตามเพศ บุคลิกภาพ และปฏิสัมพันธ์ร่วม ขณะฟังเสียงดิจิตอลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาที่ศึกษาในปีการศึกษา 2560 เพศชาย เพศหญิง อายุระหว่าง 20-25 ปี มีบุคลิกภาพแบบเปิดเผย 40 คน (ชาย 20 คน หญิง 20 คน) บุคลิกภาพแบบกลาง ๆ 40 คน (ชาย 20 คน หญิง 20 คน) อาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัย คัดกรองคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดรวมจำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) กิจกรรมการทดลองการฟังเสียงดิจิตอลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในผู้ใหญ่ตอนต้น ประกอบด้วยเสียงที่มีอิทธิพลทำให้รู้สึกกลัว (Uncontrol) และไม่รู้สึกกลัว (Control) ชนิดละ 12 เสียง 2) มาตรวัดอารมณ์ความรู้สึก Self-Assessment Manikin (SAM) เป็นมาตรวัดสำหรับประเมินอารมณ์ความรู้สึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ two-way ANOVA


               ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความแตกต่างระหว่างเพศไม่มีอิทธิพลต่อการฟังเสียงดิจิตอลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในลักษณะกลัว และไม่กลัว

  2. ความแตกต่างระหว่างบุคลิกภาพไม่มีอิทธิพลต่อการฟังเสียงดิจิตอลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในลักษณะกลัว และไม่กลัว

  3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและบุคลิกภาพจากการฟังเสียงดิจิตอลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในลักษณะกลัว และไม่กลัว ไม่พบปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างเพศและบุคลิกภาพ

       The purpose of this experimental research was to study the dominance emotional in young adults, gender, personality and interactions. While listening to the dominance emotional digitized sounds. The samples were students from Burapha University who studied in the academic year 2017. Male, Female, Age 20-25 years. 40 extrovert personality (20 men, 20 women). 40 ambivert personality (20 men and 20 women). Volunteers to participate in the research. Screening of 80 qualification criteria. Research tools include 1) Experimental listening to dominance emotional digitized sounds in young adults. The sound is influenced by the fear (Uncontrol) and not afraid (Control) of 12 sounds. 2) Emotional Self-Assessment Manikin (SAM) for evaluating emotions. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and two-way ANOVA.


               The results showed that.


  1. The differences between sexes have no influence dominance emotional digitized sounds in young adults listening, the influence on fear and not afraid.

  2. The difference between the personalities has no influence dominance emotional digitized sounds in young adults listening, the influence on fear and not afraid.

            3. Interaction between sex and personality from listening to dominance emotional digitized sounds in young adults, the influence on fear and not afraid, no interaction between sex and personality.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ