กระบวนการสร้างสรรค์คอลเลคชั่นผ้าบาติก (The creative process of Batik’s collection)

Main Article Content

สุวิตา แก้วอารีลาภ (Suvita Kaewareelap)
ปรัชญา กฤษณะพันธ์ (Prachya Kritsanapan)

Abstract

               กระบวนการสร้างสรรค์คอลเลคชั่นผ้าบาติกภายใต้ชื่อโครงการ “Southern chic” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างคอลเลคชั่นใหม่ให้กับผู้ผลิตสินค้าผ้าบาติก 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มบ้านรัก กลุ่มลายเส้น และกลุ่มยิ่งบาติก  2) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์คอลเลคชั่นผ้าบาติก 3) เพื่อยกระดับผ้าบาติกให้ทันสมัย  มีความแปลกใหม่ และแตกต่างจากรูปแบบผ้าบาติกที่มีอยู่เดิม


               คอลเลคชั่น เป็นการรวบรวมผลงานออกแบบหลายๆ ชิ้นมาประกอบกัน โดยการนำเสนอแนวคิดทางการออกแบบ และเพื่อแสดงถึงตัวตนของผู้ผลิตสินค้าผ้าบาติก ซึ่งต้องคำนึงในหลายองค์ประกอบ เช่น ฤดูกาล มุมมองผู้บริโภค คู่แข่ง และเทรนด์ที่มีในขณะนั้น  โดยนำเสนอผ่านการถ่ายภาพแฟชั่นหรือที่เรียกกันว่า ลุคบุ๊ก (Look book) ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ได้ออกแบบเป็น 3 คอลเลคชั่น โดยถ่ายทอดแนวคิดจากมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของภาคใต้ ดังนี้ 1) กลุ่มบ้านรัก นำเสนอเรื่องราวของหินสีและลูกปัดโบราณ เน้นลวดลายของหินสีและลูกปัด ส้ม ฟ้า บนพื้นขาว และดำ 2) กลุ่มลายเส้นนำเสนอเรื่องราวของท้องทะเล เน้นความทันสมัย สีสันสดใส โทนฟ้า เขียวทะเลและขาว 3) กลุ่มยิ่งบาติกถ่ายทอดเรื่องราวของพฤกษาพรรณไม้ในภาคใต้ ซึ่งผู้วิจัยได้ออกแบบคอลเลคชั่นละ 7 ชุด รวมเป็น 21 ชุด ประกอบไปด้วยชุดเสื้อเชิ้ต เสื้อคลุมและกางเกงของผู้ชาย  ชุดเดรสสั้น เดรสยาว กางเกงและเสื้อคลุมของผู้หญิง รวมถึงเครื่องประกอบการแต่งกาย เช่น กระเป๋า ผ้าพันคอ ผ้าคลุมศรีษะ ต่างหู กำไล เป็นต้น


               ผลที่ได้ในการศึกษาพบว่าการสร้างคอลเลคชั่นใหม่สำหรับผู้ผลิตสินค้าผ้าบาติกต้องมีความคิดสร้างสรรค์ เปิดรับสิ่งใหม่ๆ และมีความพร้อมในการผลิตสินค้า โดยมีกระบวนการสร้างสรรค์คอลเลคชั่น คือ 1) ตั้งชื่อโครงการ, ธีม, ฤดูกาล 2) ระบุหน้าที่และความรับผิดชอบ 3) การนำเสนอแนวคิด 4) ศึกษาภาพแนวความคิด 5) ศึกษาภาพแฟชั่นอ้างอิง 6) การทำภาพร่างแนวความคิดหรือมู้ดบอร์ด 7) การออกแบบภาพร่างแฟชั่นชุดบาติก 8) การผลิต 9) การนำเสนอคอลเลคชั่น


               จากผลการออกแบบและพัฒนาคอลเลคชั่นให้กับผู้ผลิตสินค้าผ้าบาติก โดยนำมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของภาคใต้มาเป็นแนวทางการออกแบบในครั้งนี้ ได้ยกระดับการพัฒนาผู้ผลิตสินค้าผ้าบาติกให้มีความรู้ ความเข้าใจต่อกระบวนการพัฒนาสินค้าในรูปแบบคอลเลคชั่นมากขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกมีความสวยงาม ทันสมัย และแตกต่างจากรูปแบบผ้าบาติกที่มีอยู่ในท้องตลาด ซึ่งทำให้ผู้บริโภคจดจำตัวตนของผู้ผลิตสินค้าได้ดีขึ้น และมีความต้องการซื้อสินค้ามากขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตมีรายได้และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าตนเองได้ ทั้งนี้ผู้ผลิตจำเป็นต้องพัฒนาคอลเลคชั่นตามความต้องการใหม่ ๆ ของผู้บริโภค และการเปลี่ยนแปลงของตลาดอยู่เสมอ


 


             The process creative batik collections are under the Project name “Southern Chic”. The purposes are 1. To create new collections for 3 groups of  batik fabric producers such as Barnrak group, Linesen group, and Yingbatik group, 2. To study procedures creation of batik collections, and 3. To modernize batik fabric to have more various styles.


               A collection is the acquisition of work pieces by presenting ideas of designs and shows the standings of batik producers. There are factors needed to be considered such as seasons, consumer aspects, rivals, and current trends by presenting through idea pictures called “Look Book”. This study is designed into 3 collections. The cultural and natural heritages of Southern part of Thailand are passed into these ideas through these 3 groups as following : 1) Barnrak group presents the stories of coloured stones and ancient beads which are accentuated patterns of coloured stones and ancient beads on colours of orange, light blue on white and black background.  2) Linesen group presents the stories about seas and oceans which are mainly focused on modernizing the work by using vivid colours; light blue, emerald green, and white tones. 3) Yingbatik group tells the stories of floras in Southern part. The researchers have designed 7 styles of clothes for each collection. In total, all 3 collections have 21 clothes including shirts, overcoats and male pants, short and long dresses, female pants and female overcoats, and also accessories like bags, bandanas, scarves, earrings, and bracelets etc.


               From the results of the research show that the creation of new collections for batik-product producers have to be open-minded and creative to come up with new designs and are ready to produce batik products. The procedures to create collections are as following : 1) Project name, Come up with the name of the theme of each seasonal collection 2) Identifies who is responsible in the project. 3) Present Inspiration 4) Have inspiration reference 5) Have fashion references 6) Create the Mood Board 7) Present ideas through Look Book 8) Start   Fashion sketch design 9) Present collections.


               As a result of all designs and design development for batik-product producers, the natural and cultural heritages of Southern part have been bought into designs this time. This has enhanced the improvement of batik-product producers in terms of knowledge, understanding of improving procedures of products in collections.  As this enhancement, it has created new modern style of batik clothes’ designs that are differentiated from the market. Consumers notice and recognize the standing of batik-product producers and would like to purchase batik products more. As this result, it generates income for batik-product producers and value-added to batik products themselves. However, the producers need to always come up with new collections to answer the new needs of consumers and respond to the changes in market always.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ