รูปแบบการบริหารที่เสริมสร้างความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (An Administration Model To Strengthen Of The Primary School Teachers’ Commitment Under The Office Of The Primary Education Service Area)

Main Article Content

วีระ ทวีสุข (Weera Taweesuk)

Abstract

                  การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ สร้างรูปแบบและตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารที่เสริมสร้างความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามโอกาสทางสถิติ(probability sampling) แบบหลายขั้นตอน(multi-stage random sampling) โดยประมาณกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตาราง เครจซี และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970) ได้สถานศึกษา จำนวน 380 โรงเรียน โดยการเลือกแบบจัดกลุ่ม (Cluster random sampling) ผู้วิจัยสุ่มจังหวัดได้เขตตรวจราชการที่ 4 มีจำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี รวม 11 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จากนั้นเลือกโรงเรียนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา รวม 380 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ครู ที่สุ่มได้จากโรงเรียนตัวอย่างโรงเรียนละ 1 คน เก็บข้อมูลกลับคืนมาได้จำนวน 342 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90.00 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ฉบับ เป็นแบบสอบถามมี 6 ตอน ประกอบด้วย สถานภาพทั่วไป  ลักษณะงาน ลักษณะโรงเรียน ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน แรงจูงใจในการทำงาน ความผูกพันต่อโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความโด่ง ความเบ้ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า


  1. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปรแฝง พบว่า โมเดลการวัดทั้งหมดมีองค์ประกอบมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างจริง

  2. ตัวแปรแฝงที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ได้แก่ สถานภาพส่วนบุคคล ลักษณะงาน  ลักษณะโรงเรียน  ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และแรงจูงใจในการทำงาน  รวมมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย ร้อยละ 53.10 ที่ค่า X2= 32.43, df = 31, p-Value =  0.396,  RMSEA = 0.001

  3. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มีความเห็นว่ารูปแบบมีความเหมาะสม สอดคล้อง มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์

           This aims of research were to create and improve an administration model to strengthen of the primary school teachers' commitment under the Office of the Primary Education Service Area with Empirical data. The samples were got from cluster sampling 1 checked area that was 4th checked area comprised 4 province as; Nakhon Pathom, Ratchaburi, Kanjanaburi, and Suphanburi. The data collected from 395 teacher that are about 89.77%. The instrument was a questionnaire that has 3 part as; general status, administration, and teacher’s commitment. The data was statistic analyzed by mean standard deviation, kurtosis, skewness, Pearson's Correlation Coefficient, and Structural Equation Modeling. The finding showed that latent variables affecting teachers' commitment under the Office of the Primary Education Service Area were as follow:


  1. The Confidence factor analysis of latent variables found that all measurement models had real structural integrity.

  2. The latent variables that influence teachers’ commitment were personal status, job characteristic, school characteristic, job satisfaction, and job motivation. The coefficient of determination was 53.10% at c2= 32.43, df = 31, p-Value = 0.396, RMSEA = 0.001.

  3. The result of the conformance check of the model was found that most experts agree that the format was appropriate, consistent, feasible, and could be used.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ