สะเต็มคอมพิวเตอร์โดยโครงงานเป็นฐานสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยชุดควบคุมอัตโนมัติ (STEM Computer on Project- Based Learning for Grade 10 Students Using Automatic Control )

Main Article Content

ประสงค์ บรรจงเพียร (Prasong Bungjongpien)
ชัยยพล ธงชัยสุรัชต์กูล (Chaiyapon Thongchaisuratkrul)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสะเต็มคอมพิวเตอร์โดยโครงงานเป็นฐานสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ด้วยชุดควบคุมอัตโนมัติ กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาการเรียนจำนวน 20 คาบ คาบละ 50 นาที โดยจัดรูปแบบการสอนแบบ MIAP แบ่งหน่วยการเรียนเป็น 3 หน่วยการเรียนรู้ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 จะถูกแบ่งกลุ่มละ 4 คน เพื่อเสริมทักษะการทำงานร่วมกัน สื่อที่ใช้ประกอบไปด้วย งานนำเสนอพาวเวอร์พ้อย, คู่มือการสอน, และชุดควบคุมอัตโนมัติ ซึ่งประกอบไปด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino เซ็นเซอร์ มอเตอร์ และชุดโครงสร้าง  


               ผลการวิจัย พบว่านักเรียนที่ผ่านการเรียนด้วยกิจกรรมสะเต็มคอมพิวเตอร์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 ความพึงพอใจของครูประจำชั้นอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87 ประสิทธิภาพของกิจกรรม E1/E2 มีค่าเท่ากับ 81.50/83.45 ซึ่งสูงกว่าสมมุติฐาน 80/80 ผลประเมินผลงานนักเรียนจากโครงการพบว่านักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีคะแนนเฉลี่ยที่ 70 คะแนน สรุปได้ว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้สามารถนำไปใช้พัฒนานักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


 


                The purpose of this were to STEM computer development based on project-based learning for grade 10  students using automatic control set. The sample groups are 20 grade 10   students. They are chosen by purposive simple random sampling. They studied for 20 periods. A period was about 50 minutes. The MIAP model of learning was used. There are 3 learning unites. The students are grade 10 students divided into 4 groups. This supports cooperation skill. Instructional media consisted of power point, handbook and automatic control set. The automatic control set included Arduino microcontroller, sensors, motor and set of structure. 


               The results of this research shown that the satisfaction of students is in high level at 4.33. The satisfaction of teachers who used the course was high level at 3.87. Efficiency E1/E2 was 81.50/83.45 which were higher than 80/80 hypothesis. The projects of students pass the evaluation criteria at the score of 70. In conclusion, this course can be used for developing students efficiently.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts