การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ในการทำโครงงาน เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับโรงเรียนคู่พัฒนาไทย – อินโดนีเซีย

Main Article Content

Parinya Poungchan

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวมีการสอบก่อนและสอบหลัง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 2) เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ในการทำโครงงาน เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 จำนวน 40 คนที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556  ของโรงเรียนปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย  2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ และ4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน พบว่านักเรียนมีพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยภาพรวมนักเรียนเห็นด้วยระดับมาก

 

Abstract

This research was pre - experimental with one group pre-test  post-test design. The objectives were 1) to compare learning outcome with regards to relationship between The Kingdom of Thailand and The republic of Indonesia of  Mathayomsuksa 6 students before and after implementation of the project – based learning 2) study the development of creative thinking among  Mathayomsuksa 6 students by project – based learning and 3) to survey students’ satisfaction with the project – based approach The sample consisted of 40 students  from Mathayomsuksa 6/5, Pakkred Secondary School, Pakkred, Nonthaburi, second semester, academic year 2013, using simple random sampling technique with a classroom unit. The research instruments used were: 1) project – based lesson plans regarding relationship between The Kingdom of Thailand and The republic of Indonesia; 2) achievement test; 3) creative thinking test;  4) a satisfaction survey form toward project - based learning approach. The percentage (%), mean (), standard deviation (S.D.) and content analysis

The research findings were as follows

1. The learning outcome of relationship between The Kingdom of Thailand and The republic of Indonesia among Mathayomsuksa 6 students as teaching by project – based learning, the students gained score of post-test were significantly higher than pre-test scores at .05.

2. The finding showed development of creative thinking among Mathayomsuksa 6 students after teaching by project - based learning was significantly higher than before teaching at .05.

3. The Mathayomsuksa 6 students satisfaction toward the project - based learning approach was overall at the highest level

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

Parinya Poungchan

pakkred secondary school