พฤติกรรมและความสัมพันธ์ของการตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ กรณีศึกษาบริษัทสยาม อินเตอร์เนชั่นแนล เมดิคอล อิควิปเม้นท์ จำกัด

Main Article Content

Kanyarat Mingkaew

Abstract

บทคัดย่อ

      การศึกษาเรื่องพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของการตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ กรณีศึกษาบริษัทสยาม อินเตอร์เนชั่นแนล เมดิคอล อิควิปเม้นท์ จำกัด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ ของบริษัทสยาม อินเตอร์เนชั่นแนล เมดิคอล อิควิปเม้นท์ จำกัด และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ ของบริษัทสยาม อินเตอร์เนชั่นแนล เมดิคอล อิควิปเม้นท์ จำกัด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่ตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ของบริษัทสยาม อินเตอร์เนชั่นแนล เมดิคอล อิควิปเม้นท์ จำกัด จำนวน 435 คน (โดยเก็บข้อมูลผู้ซื้อจากรายงานประจำปีของบริษัทตั้งแต่เดือนมกราคม, 2555 - มิถุนายน 2556) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

      ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่ตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ของบริษัทสยาม อินเตอร์เนชั่นแนล เมดิคอล   อิควิปเม้นท์ จำกัด 1) ปัจจัยด้านส่วนบุคคล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง   41 – 50 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษา ปริญญาตรี อาชีพแพทย์ ประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 1 ปี – 3 ปี สถานที่ทำงานในโรงพยาบาล เขตพื้นที่ต่างจังหวัด แผนกผู้ป่วยใน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน เดือนละ 20,001 – 30,000 บาท 2) ด้านพฤติกรรมของผู้บริโภค ประเภทของกลุ่มตลาดเป้าหมายที่มากที่สุด คือ แผนกจัดซื้อแต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้ผลิตภัณฑ์ ซื้อเพราะคุณภาพ เพื่อทดแทนของเก่าที่เสีย เพื่อนร่วมงานเป็นผู้ที่มีบทบาทในการตัดสินใจซื้อ  ซื้อทุก 10 - 12 เดือน และส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารจาก วิทยุ โดยซื้อจากการติดต่อผ่านพนักงานขาย 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.55, S.D. = 0.44) โดยเมื่อพิจารณาของแต่ละด้านพบว่า ระดับความสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจอยู่ในระดับมากเท่ากันทั้ง 7 ด้าน และด้านสินค้าผลิตภัณฑ์มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด (  = 3.69, S.D. = 0.54) 4) ปัจจัยด้านแวดล้อม โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =3.62, S.D. = 0.48) โดยเมื่อพิจารณาของแต่ละด้านพบว่า ระดับความสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจอยู่ในระดับมากเท่ากันทั้ง 5 ด้าน และด้านบุคลิกภาพ มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด (  = 3.75, S.D. = 0.65) 5) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7Ps) และปัจจัยด้านแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 โดยความสัมพันธ์สูงที่สุด คือ ด้านกระบวนการ (P7) กับด้านแรงจูงใจ (Y1) (r71 = .754) ส่วนความสัมพันธ์ต่ำที่สุด คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (P3) กับด้านการรับรู้ (Y2)      (r32 = -.049) ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำมาใช้พัฒนาส่วนประสมทางการตลาด ปัจจัยด้านแวดล้อม ให้อยู่ในระดับมากที่สุด เพื่อให้ลูกค้าแสดงความไว้วางใจในผลิตภัณฑ์และตอบสนองตรงตามความต้องการให้มากที่สุด

Abstract

      The study of the behaviors and relationships of the decision to purchase medical equipment, case study of Siam International Medical Equipment Co., Ltd. is a Quantitative Research. The purposes of this research were to study behaviors to deicide of purchasing in Medical Equipment of Siam International Medical Equipment Co., Ltd. and to study relationships of purchasing in Medical Equipment of Siam International Medical Equipment Co., Ltd. A sample was selected from 435 customers, who had decision power to purchase in Medical Equipment from Siam International Medical Equipment Co., Ltd (by gathered data from the annual report in January, 2012-June, 2013). The statistics used in data analysis are the frequency, percentage, mean and standard deviation, and the correlation coefficient of Pearson.

       The results were showed that 1) Personal factor, most of sample are female, aged between 41-50 years old, single status, graduated in Bachelor’s degree, working as doctors, work experience more than 1 – 3 years, working at hospital, working in the country area, working in Inpatient Department: IPD, average income 20,001 – 30,000 baht per month 2) Behavior factor, most of target market are purchasing department,  but not related to use the products, considering in quality products before buying, to replace the old, a colleague who support in the decision to buy all, to buy every 10 - 12 months and received information from radio, and purchase from contact the salesperson. 3) Service Marketing Mix (7Ps) factor has high level ( = 3.55, S.D. = 0.44). When consider each factor, the products are highest level (  = 3.69, S.D. = 0.54) 4) Environment factor has high level ( =3.62, S.D. = 0.48) When consider each side factor, personality is highest level (  = 3.75, S.D. = 0.65) 5) The Analysis of correlation coefficient of Service Marketing Mix (7Ps) factors affect environment factors in relationship in a positive direction at the Statistically significant at the 0.01. The factors that have maximum relation are procedure (P7) and motivation (Y1) (r71 = .754). The factors that have minimum relation are place (P3) perception (Y2) (r32 = -.049). The results of this research will be applied to develop in service marketing mix factors and environment factors in highest level. These are for the customers trust in products and meet at the most of demand.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ