รูปแบบการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร: กรณีศึกษา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (Communication’s Pattern Relating Work Efficiency Within Organization: A Case Study Of Public Debt Management Office)

Main Article Content

พนิดา เกรียงทวีทรัพย์ (Panida Kriangtaweesup)
สุรมงคล นิ่มจิตต์ (Suramongkol Nimchit)

Abstract

              การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร: กรณีศึกษา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสาร การใช้สื่อสังคมออนไลน์ ประสิทธิภาพการทำงานภายในสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารกับประสิทธิภาพการทำงานภายใน สบน. ผลการวิจัยที่ได้ในครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการสื่อสาร การใช้สื่อสังคมออนไลน์ ให้สามารถเป็นช่องทางในการสื่อสารที่สร้างความเข้าใจร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างบุคลากรในองค์กรได้อย่างทั่วถึง อันจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรดียิ่งขึ้น


               การวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจากบุคลากร สบน. จำนวน 158 คน ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราว และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งประเภทตำแหน่งงาน แล้วจึงใช้วิธีการคัดเลือกแบบสะดวก


               จากผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31 – 45 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี เป็นข้าราชการ โดยผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการสื่อสาร รวมทั้งการใช้สื่อสังคมออนไลน์และประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรภายใน สบน. อยู่ในระดับมาก และการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารกับประสิทธิภาพการทำงานพบว่า รูปแบบการสื่อสารแบบบนลงล่าง แบบล่างขึ้นบน แบบแนวไขว้ และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรภายใน สบน. ในระดับปานกลาง


 


               The objectives of this independent study “Communication’s Pattern relating to Work Efficiency within organization: a case study of  Public Debt Management Office” were; to study communication’s patterns, social media usage, work efficiency of Publicdebt Management Office: PDMO; including the relationship between the communication’s pattern and PDMO’s operational performance.


               In this study, the questionnaire was implemented throughout the sample of 158 PDMO staffs clarified by position sampling and convenience sampling to analyze the data. As a result, most of interviewees were female civil servants aged between 31 – 45 years old with Bachelor’s degree. The interviewees showed their strong opinions regarding the communication’s patterns, social media usage and work efficiency in their working environments. By focusing on specific communication’s patterns, ‘Downward Communication’ and job performance on time management were the most significant. In addition, by analyzing the relationships between communication’s patterns and job performance, ‘Downward Communication’, ‘Upward Communication’, ‘Cross-Channel Communication’ and Social Media usage had positive relationship with PDMO work efficiency in moderate level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ