การออกแบบเครื่องประดับที่เสริมสร้างความมั่นใจและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับ กลุ่มคนข้ามเพศ(กะเทย) (Jewelry design project to Increased confidence and a good image for transgender people)

Main Article Content

พงศธร เจียรศิริ (Pongsatone Jeansiri)
ปฐมาภรณ์ ประพิศพงศ์วานิช (Pathamaphorn Praphitphongwanit)

Abstract

               โครงการออกแบบเครื่องประดับที่เสริมสร้างความมั่นใจและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกลุ่มคนข้ามเพศ (กะเทย) มีวัตถุประสงค์ต้องการสร้างสรรค์เครื่องประดับที่เป็นตัวช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ และภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกลุ่มคนข้ามเพศที่เรียกตัวเองว่า “กะเทย” โดยให้เครื่องประดับส่งเสริมให้กะเทย ตระหนักถึงคุณค่าความเป็นตัวเอง และสื่อสารกับสังคมถึงความเท่าเทียมกันของกลุ่มคนข้ามเพศในสังคมไทย


               จากการศึกษาและวิเคราะห์ พบว่า สังคมไทยได้ให้คำนิยามของ “กะเทย” ว่าเป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมทางเพศไม่สอดคล้อง ไม่เป็นไปตามบรรทัดฐานของสังคม ซึ่งมีเพียงสองเพศเท่านั้น คือ ชายและหญิง สังคมไทยส่วนใหญ่ยังมองคนข้ามเพศในด้านลบมากกว่าด้านบวก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม “กะเทย” ก็ยังคงถูกสังคมตีตราและเลือกปฏิบัติละเมิดต่อสิทธิศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เพียงเพราะมีเพศภาวะไม่ตรงกับเพศกำเนิด ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะยกระดับความเท่าเทียมของกลุ่มกะเทยให้เกิดขึ้นทัดเทียมกับเพศบรรทัดฐานของสังคม โดยการใช้เครื่องประดับเป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับสังคมเพื่อสร้างให้เกิดความเท่าเทียม และยังใช้เครื่องประดับเสริมสร้างให้กะเทยตระหนักถึงคุณค่าความเป็นตัวเอง มีความมั่นใจในการกล้าแสดงออกในทางที่ดี


              ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการที่จะพัฒนาเสริมสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง เพื่อให้ตัวเองดูดีขึ้นด้วยการประดับตกแต่งบริเวณหน้าอก เนื่องจากบริเวณหน้าอกเป็นส่วนที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ความเป็นผู้หญิงซึ่งบุคคลอื่นสามารถรับรู้ได้ง่ายที่สุด และผลสรุปที่ได้จากการศึกษาความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง ทำให้ผู้ออกแบบได้แนวทางการออกแบบ 3 แนวทาง ที่สามารถใช้เป็นสัญลักษณ์สะท้อนคุณค่าและอัตลักษณ์ของความเป็นกะเทย ดังนี้ คือ 1. ความเปิดเผย 2. ความสวยงามภายใต้นิยาม “ดอกไม้พลาสติก” และ 3. ความเปลี่ยนแปลงที่ปกปิด


               และจากการวิเคราะห์แนวทางการออกแบบ 3 แนวทาง ร่วมกับการหาที่มาของรูปทรง และตำแหน่งการสวมใส่ ผนวกกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ผู้ออกแบบจึงนำเสนอแบบร่างของเครื่องประดับอาศัยการตีความตามข้อสรุปโดยเลือกใช้องค์ประกอบในการออกแบบเชิงสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของกะเทยคือการเปลี่ยนแปลงตนเองและแสดงออกในเอกลักษณ์แห่งเพศหญิง ซึ่งคำนึงถึงความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกของบุคลิกลักษณะ ผู้ออกแบบเลือกใช้รูปทรงส่วนประกอบของดอกไม้ กลีบดอกไม้ เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนบุคลิกภาพในแบบต่างๆที่แสดงออกถึงความเป็นกะเทย มาประติดประต่อร้อยเรียงกันจนเป็นดอกไม้ที่สมบูรณ์อันเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของเพศหญิง ความสัมพันธ์ของเอกลักษณ์ทางเพศทั้งสองแบบมีการเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน ในการออกแบบผู้ออกแบบจึงเลือกใช้องค์ประกอบที่สามารถใช้เป็นตัวแทนความเกาะเกี่ยวสัมพันธ์นั้นในลักษณะของลูกโซ่ โดยมีนัยยะแอบแฝงของอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงภายในที่เกิดจากการใช้ยาคุม ซึ่งจำนวนของลูกโซ่จะเท่ากับปริมาณการใช้ยาคุมของกะเทย นั่นคือ 21 ลูกโซ่ ในเรื่องของสีสันผู้ออกแบบเน้นใช้สีโทนสว่างเพื่อให้เครื่องประดับดูมีน้ำหนักเบา ร่วมกับความมันวาวที่ผิวสัมผัสของวัสดุอันจะช่วงส่งเสริมให้เครื่องประดับมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น โดยการสวมใส่และประดับตกแต่ง ใช้สวมใส่บริเวณคอปล่อยชายทั้งสองด้านของเครื่องประดับพาดมาบริเวณหน้าอก โดยให้ส่วนดอกไม้ติดตรึงอยู่ตรงบริเวณตำแหน่งยอดอก (หัวนม) ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งปล่อยห้อยลงอย่างอิสระ


               This study aimed to (1) This study aimed to design the jewelry that could enhance the confidence and good image for the group of people who called themselves as transgender.   The jewelry would be designed to enhance the transgender group to aware on their own values and communicate to the society about the equality among the transgender group in Thai society.


               According to the study and analysis, it was found that Thai society defined “transgender” as a person with the incompliance sexual behaviors to the social norm in which accepted only for two genders of male and female. Most of people in Thai society remained with the negative attitude toward the transgender group. Thus, “transgender” people were marked by the society with discrimination and breached over their human rights only because they did not act according to their gender as they were born to. The author considered to leverage the equality between the transgender group and the gender norm using the jewelry as the medium to communicate to the society, to form the equality, and using the jewelry to enhance the transgender people awareness on the values of themselves for them to be confidence to show off in positive way. 


               It was found from the results of the study that the sample group wanted to enhance their own confidence for their good image through wearing the chest jewelry since the area would reflect the identity of female and it was easiest to perceive by people. The conclusion of the needs analysis with the sample group allowed the designer to obtain three guidelines to be adopted as the symbols to reflect the values and identity of the transgender as follows: 1. Openness 2. Beauty under the definition of “plastic flower”, and 3. Covered change.


               From the analysis on three design guidelines together with the finding for shapes origin and wearing position plus, the needs of target groups, the designer then presented the draft of jewelry using the interpretation in accordance with the conclusion. The designer selected the symbolic design components that reflected the hermaphrodite identity which was self-change and female identity. The consideration was on the relationship with the influences toward both internal and external changes in personality. The designer selected the shapes of flower and petals as the symbols to represent for any forms of personality that expressed the hermaphrodite in connecting and harmonizing until it became the thorough flower that represented for female symbol. In the design, the designer chose to use the components that can represent for the tie of the relationship in form of chain interlock with the hidden implication on the influence on internal changes through the use of birth control pills. The amount of interlocks was equal to the amount of birth control pills taken by the hermaphrodite, which was 21 of them. On the aspect of colors, the designer stressed to use the bright tone color for the light look of the jewelry and the shining surface of the material that would increase its values. The jewelry was for wearing and decoration via putting on the neck and left both ends on the chest, laying the flower on the top of (nipples), while releasing the other end hanging freely.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts