บทประพันธ์เพลงโซนาตาสำหรับเดี่ยวกีตาร์ (Music Composition of Sonata for Guitar Solo)

Main Article Content

เอกราช เจริญนิตย์ (Ek-karach Charoennit)

Abstract

              บทประพันธ์เพลงโซนาตาสำหรับเดี่ยวกีตาร์ชุดนี้เป็นบทเพลงมีลักษณะความเป็นดนตรีไทยที่แตกต่างออกไปจากเพลงโซนาตาที่เป็นเพลงเดี่ยวทั่วไป เนื่องจากบทประพันธ์แสดงให้เห็นถึงแนวทำนองของดนตรีไทยที่ใช้กีตาร์ถ่ายทอดเนื้อหาดนตรีด้วยสังคีตลักษณ์ของเพลงโซนาตา ผู้สร้างสรรค์ได้ประพันธ์ขึ้นใหม่เป็นบทเพลงมีโครงสร้างส่วนประกอบ 5 ท่อน คือท่อนที่ 1 Allegro ท่อนที่ 2 Adagio  ท่อนที่ 3 Minuet ท่อนที่ 4 Andante  ท่อนที่ 5 Allegro Finale  แต่ละท่อนเพลงเนื้อหาดนตรีได้ประพันธ์จากบางส่วนของบทเพลงไทยเดิม ในทุกๆ ท่อนเพลง นักแสดงสามารถแสดงออก และถ่ายทอดการบรรเลงอย่างเต็มที่ ด้วยสำเนียงแนวทำนองดนตรีไทย บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่นี้เกิดจากการดัดแปลงเพลงไทยเดิมรวม 5 ท่อนเพลงดังกล่าวข้างต้น เป็นการนำทำนองบางส่วนมาประพันธ์ต่อยอด โดยคำนึงถึงลักษณะเฉพาะ ความโดดเด่นของทำนองที่ให้ความรู้สึกทางด้านอารมณ์ของเพลงเดิมเป็นหลัก เช่น ท่อนที่ 1 ทำนองสนุกสนานเร้าใจ ท่อนที่ 2 ทำนองอ่อนช้อย ท่อนที่ 3 ทำนองแบบเต้นรำ ท่อนที่ 4 ทำนองหวานนุ่มนวล ท่อนที่ 5 ทำนองที่ตื่นเต้นมีพลัง โดยการประพันธ์เพลงท่อนเพลงจะอยู่ในกรอบของทำนองหลักสั้นๆ ที่วางไว้ในแต่ละท่อน และอยู่ในกรอบของสังคีตลักษณ์ บทเพลงชิ้นนี้จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ถ้าหากได้นำไปศึกษาวิธีการบรรเลง แนวทางการประพันธ์ซึ่งจะเป็นแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดศิลปดนตรีของไทยได้ ผู้ประพันธ์ได้วางแนวทางการประพันธ์บทเพลงโดยใช้รูปแบบเพลงโซนาตา ดังนี้   ท่อนที่ 1 Allegro  มีลีลาดนตรีที่สร้างจากการดำเนินทำนองที่บ่งบอกถึงความเรียบง่ายด้วยคอร์ด A ไมเนอร์เป็นหลัก ผสมกับจังหวะที่เร็วเพื่อความสนุกสนานตามชีวิตของคนไทย


               ท่อนที่ 2 Adagio  เป็นท่อนที่ผู้ประพันธ์ได้สร้างทำนองเพลงที่มีลีลาดนตรีเต็มแทนมนต์เสน่ห์แห่งความงามของสายลำธารที่ไหลเอื่อย ดนตรีจะมีลักษณะตามสบายไม่รีบร้อน ด้วยอัตราความเร็วจังหวะแบบช้าๆ แต่แฝงไปด้วยความอ่อนหวานของทำนองเพลงเพื่อบรรยายธรรมชาติของสายน้ำ


               ท่อนที่ 3 Minuet  ในท่อนนี้จะเป็นเพลงชุดเต้นรำพื้นบ้านของภาคอีสาน ในรูปแบบของ Binary form


               ท่อนที่ 4 Andante  เป็นช่วงที่ดนตรีดำเนินแนวทำนองอ่อนช้อย เสมือนหญิงที่อยู่ในพระราชวัง มีลีลานุ่มนวลด้วยเสียงกีตาร์หวานซึ้งผสมกับสำเนียงดนตรีตะวันตก


               ท่อนที่ 5 Allegro Finale ลีลาดนตรีที่เต็มไปด้วยจังหวะกลองของไทย และสนุกสนานอีกครั้ง ด้วยเทคนิคการเคาะจังหวะบนลำตัวกีตาร์ผสมกับบรรเลงที่แพรวพราว


 


            The composition of this guitar sonata is characterized by its flavor of traditional Thai music as, after all, it was composed by Thais. Thus, dissimilar to the typical sound of most sonatas, this one exudes with melodies and rhythms of traditional Thai music, showcasing Thai culture that is beautifully expressed through the guitar. The sonata form of this fresh new composition consists of a structure that contains 5 movements: Movement 1st Allegro  Movement  2nd Adagio  Movement 3rd Minuet  Movement 4th Andante Movement 5th Allegro Finale. Each of these movements is comprised of parts of old-style Thai songs which have been gracefully reinvented and stringed together with much tastefulness. The listeners who hear these tunes will find them very much appealing and utterly arresting. And those with an appreciation for music and some understanding of traditional Thai instruments should find a growing sense of musical aesthetics with every passing section. This musical experiment allows the performer to freely convey the essence of traditional Thai music, a national heritage. This sonata will prove an immensely useful work if students should pick it up, dissect it, and study its performance and arrangement; it would go a long way to preserve and promulgate Thailand’s arts and culture. This freshly reinvented old-style Thai composition takes 5 unique parts from some famed traditional Thai tunes and adds to them creative new melodies, all the while retaining the distinct sounds and feels of the old songs—fun, exciting melodies; beautiful and gentle tones; lively and powerful rhythms. The arrangement and composition stays within the parameters of preset tempos and form.


               Movement 1st Allegro has a style that’s defined by a simple flow of melodies conveying the Thai lifestyle of old.


               Movement 2nd Adagio contains a beautiful, melodious movement like that of a languid and peaceful river. It has a relaxed and laid-back feel like slow-moving water coursing through sweet, delightful surroundings of nature.


               Movement 3rd Minuet is a lively tune played in binary form as backdrop to traditional Esan dancing.


               Movement 4th Andante sounds gentle and graceful comparable to a lady in her palace waltzing about elegantly, as the charming sound of the guitar rings of western vibe.


               Movement 5th Allegro Finale, filled with rhythms of exotic Thai drums and exquisite strumming of the guitar, brings together a boisterous ending.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ