ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบฝึกทักษะที่ส่งผลต่อความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่/ โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

Varissorn virajaneekornpant

Abstract

53257326:    สาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษา

คำสำคัญ:      บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน / แบบฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ

วริสสร วิรัชนีกรพันธ์:   ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบฝึกทักษะที่ส่งผลต่อความ สามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ    สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ กรุงเทพมหานคร. อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ผศ. ดร. ศิวนิต อรรถวุฒิกุล  251 หน้า.

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบฝึกทักษะที่ส่งผลต่อความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสื่อสารภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3) ศึกษาระดับความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษแบบปากเปล่าของนักเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ กรุงเทพมหานคร ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) มา 1 ห้องเรียนจำนวน 49 คน ทำการทดลองโดยให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 4 บทเรียน ใช้เวลาในการทดลอง 2 สัปดาห์ๆละ 3 วันๆละ 2 คาบเรียน รวมทั้งสิ้น 10 คาบเรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบฝึกทักษะที่ส่งผลต่อความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ 3) แบบ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสื่อสารภาษาอังกฤษ ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) แบบทดสอบวัดระดับความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษแบบปากเปล่า และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ t-test แบบ dependent เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์หาค่าระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีค่าเท่ากับ   84.82/85.47    ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน         หลังจากได้เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

3. ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารโดยรวมอยู่ในระดับดี ทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่ ด้านการใช้ภาษา ด้านการออกเสียง ด้านน้ำเสียงและกิริยาท่าทาง และด้านปฏิสัมพันธ์

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระดับมากที่สุด

 

______________________________________________________________________________________________

 

53257326:   MAJOR EDUCATIONAL TECHNOLOGY

KEY WORDS: COMPUTER ASSISTED INSTRUCTION / DRILL AND PRACTICE /                       COMMUNICATION SKILLS / ENGLISH

VARISSORN VIRAJANEEKORNPANT: THE EFECTS OF USING COMPUTER ASSISTED INSTRUCTION DRILL AND PRACTICE ON ENGLISH COMMUNICATION SKILLS FOR GRADE 8 STUDENTS OF SAINT JOSEPH CONVENT SCHOOL, BANGKOK. INDEPENDENT STUDY ADVISOR: ASST. PROF. SIWANIT AUTTHAWUTTHIKUL, Ph.D. 251 pp.

 

The purposes of the research were 1) to develop and test the efficiency of the Computer Assisted Instruction Drill and Practice on English Communication Skills for Grade 8 Students of Saint Joseph Convent School, Bangkok,  2) to compare students’ learning achievement before and after using the computer assisted instruction materials, 3) to assess students’ communication skills after using the computer assisted instruction materials and 4) to study students’ satisfaction and attitude towards the computer assisted instruction materials.

The samples comprised 49 Grade 8 students of Saint Joseph Convent School, Bangkok in the first semester of the 2013 academic year, selected by simple random sampling.

The duration of the experimental research covered 10 class sessions over a two-week period.

The instruments consisted of 1) Lesson Plan of the computer assisted instruction materials, 2) four lessons of the computer assisted instruction materials, 3) pre-post learning achievement tests, 4) English communication skills test, and 5) a questionnaire for studying the students’ satisfaction towards the computer assisted instruction materials.

The dependent samples t-test was employed to compare the scores on English learning achievement tests before and after using the computer assisted instruction materials and the mean and the standard deviation were used for analyzing students’ satisfaction.

The results of the research were as follows:

1, The efficiency of the computer assisted instruction materials was found at 84.82/85.47 which was considered to meet the selected efficient standard criteria of 80/80.

2. The students’ learning achievement after using the computer assisted instruction materials was significantly higher than that before using at 0.01 level.

3. The students’ communication skills after using the computer assisted instruction materials was at a good level.

4. The students’ satisfaction towards the computer assisted instruction materials was found at a high level.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ