การออกแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อมสำหรับจังหวัดปราจีนบุรี/Environmental Graphic Design for Prachin Buri Province

Main Article Content

Thapakorn Seethong

Abstract

บทคัดย่อ

จังหวัดปราจีนบุรียังขาดแผนงานการออกแบบเลขนศิลป์สำหรับป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ที่สะท้อนถึงลักษณะสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น ผู้วิจัยได้ลงแรงทำงานเพื่อหาเอกลักษณ์ทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดผ่านงานวรรณกรรม, การค้นคว้าเอกสารสำคัญ และกระบวนการการสัมภาษณ์ 2 ระดับ โดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่เป็นระยะเวลายาวนาน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลแหล่งที่มาของแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์การออกแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อม ซึ่งแบ่งออกเป็น 9 หมวด ได้แก่ ภูมิศาสตร์และทรัพยากร, ขนบธรรมเนียมประเพณี, วิถีชีวิต ภูมิปัญญาและอาหารการกิน, สถานที่ท่องเที่ยว, สิ่งศักดิ์สิทธิ์, สถาปัตยกรรม, ประติมากรรม, ดนตรีนาฎศิลป์ ภาษาและวรรณกรรม, หัตถกรรม งานฝีมือและของดีประจำจังหวัด จากนั้นนำไปออกแบบชุดเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อมสำหรับจังหวัดปราจีนบุรี ที่ประกอบด้วย ซุ้มประตูเมือง ป้ายแสดงข้อมูลสถานที่ ป้ายบอกทิศทาง และกระถางต้นไม้

จากการวิจัยพบว่า ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปรากฏเด่นชัดว่าเป็นอัตลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุด และสิ่งที่เด่นชัดรองลงมา คือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ จากวัดต้นพระศรีมหาโพธิ์ อันเป็นต้นโพธิ์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

Abstract

This Prachin Buri province lacks a graphic design scheme for public signage that reflects local environmental and cultural features. The researcher undertook to identify significant geographic and cultural features of the province through literature and documentary research and a two-stage interview process with long-term residents using questionnaires. Data were collected according to nine categories of sources for inspiring environmental graphic design as a basis for creating a series of environmental graphic design for Prachin Buri province including gateways, street lighting, direction sign and planters. The nine categories include topographical and related resources, cultural and traditions, way of life (including local wisdom and cuisine), tourist attractions, sacred sites, architecture, Scultures artifacts, music performing arts language and literature, handicrafts and famous local products.

The research show that Chao Phraya Abhaibhubate Building most clearly embodies provincial identity. The second-most-cited feature is the Phra Sri Mahabodhi Tree from Wat Ton Phra Sri Mahabodhi, the oldest bodhi tree in Thailand.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ
Author Biography

Thapakorn Seethong

Graduate School, Silpakorn University