เทคโนโลยีสื่อประสมสอนการถ่ายภาพเบื้องต้น กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี/Multimedia Technology to teach basic photography case studies Phetchaburi Rajabhat University

Main Article Content

Kriangkrai Jariyapanya

Abstract

บทคัดย่อ

จากสภาพปัญหาของสื่อการเรียนการสอนการถ่ายภาพเบื้องต้นในปัจจุบัน  ที่ยังไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาที่หลากหลายรูปแบบและปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนแต่ละบุคคลได้  ในการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินการยอมรับของผู้ใช้ต่อเทคโนโลยีสื่อประสมสอนการถ่ายภาพเบื้องต้น กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีมีขั้นตอนในการวิจัย ดังนี้1)ขั้นตอนการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อประสมสอนการถ่ายภาพเบื้องต้น 2) ขั้นตอนการประเมินการยอมรับของผู้ใช้เทคโนโลยีสื่อประสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1จำนวน 44 คน สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการถ่ายภาพเบื้องต้น ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ซึ่งเลือกมาแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) เทคโนโลยีสื่อประสมสอนการถ่ายภาพเบื้องต้น และ 2) แบบประเมินการยอมรับเทคโนโลยีสื่อประสมที่ประกอบด้วยประเด็น   การยอมรับ13 ด้านมีค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินการยอมรับมีค่าเท่ากับ 0.89สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1)ได้เทคโนโลยีสื่อประสมสอนการถ่ายภาพเบื้องต้นที่มีองค์ประกอบการนำเสนอประกอบด้วยข้อความ รูปภาพและเสียงบรรยาย ร่วมกับการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนผ่านปุ่มบนหน้าจอแสดงเนื้อหา ซึ่งมีระบบการรายงานผลการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนผ่านเว็บไซต์อะโครแบตดอทคอม

2) ผลการประเมินการยอมรับการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสื่อประสมสอน โดยรวม อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาผลการประเมินรายด้าน3 อันดับสูงสุด คือด้านความสอดคล้องระหว่างระบบกับโลกแห่งความเป็นจริงด้านการควบคุมของผู้ใช้และความเป็นอิสระ และด้านการรู้จักมากกว่าการระลึกถึงตามลำดับ

จากผลการวิจัยทำให้ได้เทคโนโลยีสื่อประสมสอนการถ่ายภาพเบื้องต้น กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีที่สามารถนำเสนอเนื้อหาที่หลากหลายรูปแบบและผู้เรียนแต่ละบุคคลสามารถปฏิสัมพันธ์กับซอฟต์แวร์ได้ดังนั้นซอฟต์แวร์ที่พัฒนานี้จึงเหมาะสำหรับนำไปใช้ประกอบในกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการถ่ายภาพเบื้องต้น  หรือใช้เป็นเครื่องมือเพื่อทบทวนความรู้โดยให้ผู้เรียนใช้เรียนเสริมนอกเวลาเรียน ตลอดจนสามารถให้ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการถ่ายภาพเบื้องต้นศึกษานำไปใช้เรียนรู้ด้วยตนเองได้

คำสำคัญ: เทคโนโลยีสื่อประสม  การยอมรับระบบ การถ่ายภาพเบื้องต้น

 

Abstract

The problems ofinstructional media for teaching basic photography at the present are thatmultimedia couldn’t present various forms of contents andinteract with individual students. This research aimed to develop and evaluate theuser acceptance of multimedia technology for teaching basic photography at Phetchaburi Rajabhat University. The research processes were as follows:1)thedevelopment process of multimedia technology for teaching basic photography, and 2)the evaluation process of user acceptanceof themultimedia technology. The sample was a group of forty first-year Communication Artsmajor students at Phetchaburi Rajabhat University, registered for the Basic Photography course in the first semester of academic year 2013. Those samples were purposively selected. The research instruments included:1) the multimedia technology for teaching basic photography, and 2) a user acceptance form ofthe multimedia technology, involving 13 evaluation criteria with the reliabilityof 0.89. The statistical methods used were mean andstandard deviation.

The research results were as follows:

1) The multimedia technology for teaching basic photography, a case study of Phetchaburi Rajabhat University was developed, which forms of contents included texts, images and audio, as well as students’ interaction in the forms of on-screen buttons.The proposed system presents both pre-test and post-test results through the www.acrobat.com.

2) The evaluation of the user acceptance of using multimedia technology was overall at a high level. When considering each criteria, the topthree criteria “matching between the system and the real world”, “user control and freedom”, and “recognizing rather than recall” were highly accepted, in respective order.

This research produced the multimedia technology for teaching basic photography, a case study of Phetchaburi Rajabhat University, which could present different forms of mediaand individual students could interact with the software. The software developed was therefore appropriate as an instructional media for teaching basic photography, or use as a learning tool for students’ revision outside the classroom. Moreover, it was suitable for the learners who wanted to learn about basic photography by themselves.

 

Keywords: multimedia technology, system acceptance, basic photography

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

Kriangkrai Jariyapanya

นักวิชาการโสตทัศนศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี