พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และวิถีชุมชนบ้านพุน้ำร้อน พื้นที่ด่านผ่านแดน กาญจนบุรี-ทวาย (Evolution of History and Way of Life of Phu Namron Community, Kanchanaburi-Dawei Border Crossing )

Main Article Content

บุษบา ทองอุปการ (Busaba Thongoupragran)

Abstract

              วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และวิถีชุมชนบ้านพุน้ำร้อน ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พื้นที่ด่านผ่านแดน กาญจนบุรี-ทวาย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 6 ราย ใช้วิธีสุ่มแบบลูกโซ่ เก็บข้อมูลโดยการสังเกต การสำรวจ และการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และบันทึกภาคสนาม ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา เชื่อมโยงและตีความ สร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า (1) การก่อตั้งชุมชน พัฒนาจากผู้คนที่หลั่งไหลเข้ามาทำเหมืองแร่และป่าไม้ เมื่อมีการยกเลิกสัมปทานเหมืองและปิดป่า ด้วยความกันดารและไกลเมือง จึงมีผู้คนคงเหลือจำนวนไม่มากนัก จนกลายเป็นชุมชนเล็ก ๆ ชายแดนห่างไกลความเจริญ สภาพชุมชนลักษณะพหุสังคม อันเกิดจากความต่างของชาติพันธุ์ จนในปีพ.ศ. 2551 เมื่อประเทศไทยและสหภาพเมียนมาร์ ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย บ้านพุน้ำร้อนได้รับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการเป็นประตูเปิดสู่อันดามัน เชื่อมต่อทวายเข้าสู่กาญจนบุรี (2) วิถีชีวิตชุมชน พบว่า ความเชื่อและศาสนาแตกต่างไปตามกลุ่มชาติพันธุ์ การกินอยู่พบอาหารสะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ อาทิ หมี่ซิ (ทองโย๊ะ) ของชาวกะเหรี่ยง เปิงด๊าดจ์ (ข้าวแช่) ของชาวมอญ สำหรับวิถีอาชีพ การประกอบอาชีพที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ใช้ทรัพยากรการผลิตที่สอดคล้องกับบริบทของภูมิประเทศเป็นหลัก อาชีพดั้งเดิมของชุมชนที่ยังคงอยู่คืออาชีพหัตถกรรม


 


               This study aimed at studying the evolution of history and way of life of Phu Namron community, Bankao subdistrict, Mueang district, Kanchanaburi province, in particular to Kanchanaburi – Dawei border crossing area. A sample consisted of 6 informants selected by snowball sampling technique. Observation, survey, and in-depth interview were chosen for data collection, interview and field note forms were selected as research instruments, and triangulation, content analysis, interpretation and relation for making conclusion based on inductive reasoning were used for data verification. The findings showed that (1) the community was originally settled by mining and sawmill laborers, and after the cancellation of forestry and mining concessions, a group of laborers formed a small, distant, and uncivilized community-the multiculturalism community generally possessed ethnic diversity, and the MOU Signing of Dawei Deep Sea Port Project was later made in 2008, which rapidly affected Phu Namron community development in terms of infrastructure and public utilities to support the Andaman Gateway connecting Dawei and Kanchanaburi, and (2) way of life of community members showed diversity in religious beliefs of individual ethnic groups, food identity e.g., Mi Si (Thongyo) of Karen tribe, Peng Daud (Khaw Chae) of Mon people and living way according geographical contex-the community members traditionally lived their lives by doing handicrafts.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

Phuangngm, K. (2010). kānčhatkān tonʻēng khō̜ng chumchon læ thō̜ngthin (Community and local self-management). Bangkok: Bopith printing.
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
Hansupsai, C. (2011). saphān sētthakit: khrōngkān thawāi sāthāranarat hǣng sahaphāp
mīa nō̜mā (Land bridge: Dawai project of Myanmar). Meeting documents board
of trade Issues no.5/2011, 2011-12-23, Organized by the Thai Chamber of
Commerce.
ชรินทร์ หาญสืบสาย. (2554). สะพานเศรษฐกิจ (Land bridge): โครงการทวายสาธารณรัฐแห่ง
สหภาพเมียนมาร์. เอกสารประกอบการประชุม คณะกรรมการประเด็นทางการค้า
ครั้งที่ 5/2554 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 จัดโดยหอการค้าไทย.
Hawannont, N., Jiradechakul P & Phataisong G. (2007). thritsadī thānrāk nai rư̄ang
khwāmkhēmkhæng khō̜ng chumchon (Grounded theory of community
strength). Bangkok: The Thailand Research Fund.
นภาภรณ์ หะวานนท์ เพ็ญศิริ จีระเดชากุล, และจีรวุฒิ ปัทไธสง. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่อง
ความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Nonthanathorn, P., Meenagun, N., Sirimangkhala, W., Pitchchungkul, S., Chaiwongkawe, S & Tawanna, K. (2012). rāingān kānsưksā khwām mo̜som kānčhat ngō̜dān sunlakākō̜n
Na bān phu nam rō̜n ʻamphœ̄ mư̄ang čhangwat kānčhana burī (The report
establishment of customs at Ban Phu Nam Ron, Mueang district, Kanchanaburi
province). Social enterprise leadership center, Kasertsart university.
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ นาวิน มีนะ วริศรา ศิริมังคละ สหวัฒน์ พิชญังกูร ศรัญญา ไชยวงศ์แก้ว และไข่มุก
ตวันนา. (2555). รายงานการศึกษาความเหมาะสมการจัดตั้งด่านศุลกากร ณ บ้านพุน้ำร้อน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. ศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Thongoupragran, B. (2009). rāingān wičhai phūmpanyā ʻāhān Mō̜n chumchon Mō̜n bān
wangka ʻamphœ̄ sangkha la burī čhangwat kānčhana burī (Research report, Mon wisdom food at Ban Wang Ka village, Sangkhla Buri district, Kanchanaburi province). Research and development institute Kanchanaburi Rajabhat University.
บุษบา ทองอุปการ. (2552). รายงานวิจัยภูมิปัญญาอาหารมอญ ชุมชนมอญบ้านวังกะ อำเภอ
สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.
________. (2015). rāingān wičhai thun chumchon bān thiphuyē ʻamphœ̄ thō̜ng phā phūm
čhangwat kānčhana burī (Research report, Community Capital of Ban Thi Phu Ye, Thong Pha Phum District, Karnchanaburi province). HERP, Office of the
higher education commission.
________. (2557) . รายงานวิจัยทุนชุมชนบ้านทิพุเย อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี.
โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงาน คณะกรรมการอุดมศึกษา
Wasi, P. (1997).yutthasāt phư̄a khwāmkhēmkhæng thāng sētthakit sangkhom watthanatham (Strategies for strengthening economic, social, cultural). Bangkok: Moh-Chao-Ban
Publishing House
ประเวศ วะสี. (2540). ยุทธศาสตร์เพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.
Office of Industrial Economics. (2010). rāingān khrōngkān čhattham phǣn patibatkān phatthanā ʻutsāhakam phūmiphāk rāingān chabap sombūn raya thī 3, phǣn patibatkān phatthanā ʻutsāhakam chāidǣn (Report of regional industrial development Plan: Phase 3: Action plan of frontier Industrial Development). Copied documents.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2553). รายงานโครงการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรม
ภูมิภาค รายงานฉบับสมบูรณ์ ระยะที่ 3: แผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมชายแดน.
เอกสารอัดสำเนา.
Nakornthap, A., Masathianwong, C & Yamabhai, C. (2008). kānsưksā nai withī chumchon : kān sangkhro̜ prasopkān nai chut khrōngkān wičhai dān kānsưksā kap chumchon (Community study: A synthesis experience in education research in
communities). Bangkok: SINO Publishing.
อมรวิชช์ นาครทรรพ, จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ และชิตชยางค์ ยมาภัย. (2551). การศึกษาในวิถี
ชุมชน: การสังเคราะห์ประสบการณ์ในชุดโครงการวิจัยด้านการศึกษากับชุมชน.
กรุงเทพฯ: ซีโน พับบิชชิ่ง จำกัด.
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า. (2555). แผนยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า. เอกสาร
อัดสำเนา.
Ban Kao Subdistrict Administrative Organization. (2012). phǣn yutthasāt ʻongkān
bō̜rihānsūantambon bān kao (Strategic plan of Ban Kao Subdistrict Administrative
Organization). Copied documents.
Kanchanaphan, A. (2001). miti chumchon withī khit thō̜ngthin wādūai sitthi ʻamnāt læ kānčhatkān sapphayākō̜n (Community dimension, local thinking, authority and resource management). Bangkok: The Thailand Research Fund.
อานันท์ กาญจนพันธุ์.. (2544). มิติชุมชน วิธีคิดท้องถิ่นว่าด้วยสิทธิ อำนาจ และการจัดการทรัพยากร.
กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.