การศึกษาผลกระทบทางสังคมจากการยุบเลิกโรงเรียนขนาดเล็ก และแนวทางพัฒนาความเข้มแข็งของโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1

Main Article Content

Nuttakul Roonnaphab

Abstract

การศึกษาผลกระทบทางสังคมจากการยุบเลิกโรงเรียนขนาดเล็ก และแนวทางพัฒนา

ความเข้มแข็งของโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1

The study of Social Impact of Small Schools’ Elimination and

the Guideline Development for Empowering Small Schools in

the Office of Lumphun Educational Service Area 1


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนไม่ถึง 40 คน ที่อยู่ในเกณฑ์ต้องถูกยุบเลิกในปีการศึกษา 2555 เพื่อศึกษาผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้นกับชุมชนที่อยู่ในเขตบริการของโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ถูกยุบเลิกเมื่อปีการศึกษา 2554 จำนวน 6 โรงเรียนและเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาความเข็มแข็งของโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีจำนวนนักเรียนไม่ถึง 40 คน  ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องถูกยุบเลิก ในปีการศึกษา 2555 เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกยุบเลิกผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)โดยศึกษาความรู้ แนวคิด ทฤษฎี และศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เป็นคำตอบของวัตถุประสงค์การวิจัย โดยเริ่มศึกษาและเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-2556 รวมระยะเวลา 2 ปีกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษามี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กที่ถูกยุบเลิกเมื่อปีการศึกษา 2554 จำนวน 6 โรงเรียน และกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนไม่ถึง 40 คนที่อยู่ในเกณฑ์ต้องถูกยุบเลิกในปีการศึกษา 2555เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาจำนวน 9 โรงเรียน แหล่งให้ข้อมูลมี 3 แหล่งคือ แหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร แหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล และแหล่งข้อมูลที่สืบค้นจากระบบอินเตอร์เน็ตเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลภาคสนามมี 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องมือหลัก คือ ตัวผู้วิจัย และเครื่องมือเสริมที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นแบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ควบคู่กับวิธีเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบบันทึกการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม แบบบันทึกการสนทนาอภิปรายกลุ่มย่อย และแบบบันทึกข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์เอกสาร ผลการศึกษาวิจัยปรากฏดังนี้

1.       บริบทของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนไม่ถึง 40 คน ที่อยู่ในเกณฑ์ต้องถูกยุบเลิกในปีการศึกษา 2555 พบว่า มีจำนวน 9 โรงเรียนอยู่ในเขตท้องที่ 3 อำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภอป่าซาง และอำเภอแม่ทา โรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้ ตั้งอยู่ในชุมชน ซึ่งแต่ละโรงเรียนตั้งอยู่ห่างกันประมาณ 3-7 กิโลเมตร การคมนาคมสะดวก มีถนนสายหลักและสายรอง โดยถนนในหมู่บ้านติดต่อถึงกัน ด้านเศรษฐกิจของชุมชนที่อยู่ในเขตบริการของโรงเรียน กลุ่มผู้ปกครองที่มีฐานะยากจนมีมากสุดโดยจะส่งลูกเข้าเรียนในโรงเรียนเขตบริการ กลุ่มผู้ปกครองที่มีฐานะดีมีน้อยสุด กลุ่มนี้นิยมส่งบุตรหลานไปเรียนโรงเรียนในเมือง เนื่องจากการเดินทางสะดวกและมีรถรับส่งนักเรียนจากบ้านถึงโรงเรียน โรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มนี้มีนักเรียนที่เข้าเรียนประกอบด้วย คนไทยพื้นราบ คนไทยชาวเขา และเด็กต่างด้าวจากประเทศพม่า  ลาว ที่ผู้ปกครองอพยพย้ายถิ่นมาทำงานในหมู่บ้านที่โรงเรียนตั้งอยู่

2. ผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้นกับชุมชนที่อยู่ในเขตบริการของโรงเรียนขนาดเล็กที่ถูกยุบเลิกเมื่อปีการศึกษา 2554 จำนวน 6 โรงเรียน พบว่าผู้ได้รับผลกระทบทางบวกคือผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็กที่ถูกยุบเลิกเพราะก่อนที่โรงเรียนจะถูกยุบเลิกนั้น ผู้บริหารโรงเรียนต้องรับภาระทั้งบริหารงานทั้ง 4 ด้านประกอบด้วย งานวิชาการ งานบริหารบุคคล งานบริหารทั่วไป และงานงบประมาณ บางคนต้องสอนเด็กควบคู่ไปด้วย เนื่องจากมีครูไม่ครบชั้น อีกทั้งโรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณน้อย ไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการ ในขณะที่ต้นสังกัดไม่จัดสรรอัตราครูมาเพิ่มให้เนื่องจากเด็กนักเรียนมีจำนวนน้อย ทำให้รู้สึกเหนื่อยและท้อ ในทำนองเดียวกันกับครูผู้สอนที่ต้องรับผิดชอบสอนหลายชั้นเรียน ทำให้จัดการเรียนการสอนได้ไม่เต็มที่เต็มเวลาเท่าที่ควร บางโรงเรียน ไม่มีตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนทำให้ต้องทำหน้าที่บริหารไปด้วย ดังนั้นบุคลากรดังกล่าว จึงมีความพึงพอใจที่ได้ย้ายไปอยู่โรงเรียนแห่งใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่า มีจำนวนนักเรียนมากกว่า ทำให้มีกำลังใจสอนไม่เงียบเหงาเหมือนอยู่โรงเรียนเดิม ภาระงานด้านการสอนก็ลดลงเพราะมีครูผู้สอนมากกว่าโรงเรียนเดิม    ทำให้มีเวลาเพียงพอที่จะทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะของตนให้สูงขึ้น เช่นเดียวกับผู้บริหารโรงเรียนหลังจากโรงเรียนยุบเลิกก็ได้ย้ายไปบริหารในโรงเรียนที่มีนักเรียนมากกว่ามีครูเพียงพอ มีความพร้อมเกือบทุกด้านทั้งงบประมาณ สื่ออุปกรณ์การสอน โรงเรียนมีปริมาณงานมากกว่าโรงเรียนเดิม กอปรกับโรงเรียนแห่งใหม่ก็ไม่ห่างไกลจากโรงเรียนเดิมมากนัก จึงไม่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาทำงาน  สามารถเดินทางไป-กลับจากบ้านไปโรงเรียนจึงมีความพึงพอใจที่ได้ย้ายมาโรงเรียนแห่งใหม่ ส่วนผู้ได้รับผลกระทบในทางลบก่อนโรงเรียนถูกยุบเลิก คือนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ครูจ้างสอนและแม่ค้า เนื่องจากกลัวว่าบุตรหลานจะต้องไปเรียนไกลบ้าน ไม่ปลอดภัยในการเดินทาง และที่สำคัญจะไม่มีโรงเรียนที่เป็นหนึ่งในสามสถาบันหลักซึ่งประกอบด้วย บ้าน วัด และโรงเรียนขาดหายไปจากชุมชน อีกทั้งชาวบ้านที่รับจ้างทำอาหารกลางวัน แม่ค้าขายของในโรงเรียนและนอกโรงเรียนรวมถึงครูรับจ้างสอน หลังจากโรงเรียนถูกยุบเลิก ทำให้ตกงานและขาดรายได้ จึงได้คัดค้าน ข่มขู่และต่อต้าน แสดงท่าทีไม่พอใจที่โรงเรียนต้องถูกยุบเลิก แต่หลังจากโรงเรียนถูกยุบเลิกไป ผู้บริหารและครูผู้สอนได้ย้ายไปอยู่โรงเรียนแห่งใหม่ผลกระทบนั้นก็สิ้นสุดลง

3.  แนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนไม่ถึง 40 คน และอยู่ในเกณฑ์ต้องถูกยุบเลิกในปีการศึกษา 2555 เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกยุบเลิก พบว่าทั้ง 9 โรงเรียนมีแนวทางพัฒนาความเข้มแข็งโดย ยึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้ง 3 ฝ่ายคือ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน ส่วนแนวทางการพัฒนาโรงเรียนให้เข้มแข็งคือ “CIPRA Approch” ประกอบด้วยแนวทางดังนี้ 1) การสร้างความเชื่อมั่นต่อโรงเรียน (Techniques of creating school confidence : c) 2)  เทคนิคการเพิ่มจำนวนนักเรียนไม่ให้ลดลง (The strategy of increasing : I) 3) เทคนิคการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียน(Techniques of participative : p) 4) การระดมทรัพยากร (Resources funding : R) และการสร้างความสัมพันธ์(Relationship : R )และ 5) การร่วมพัฒนาด้านวิชาการ (The academic developing) ประการสำคัญแนวทางพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้เข้มแข็งจะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องเกิดจากคุณลักษณะของชุมชน 6 ประการคือ 1) คนในชุมชนเป็นผู้มีจิตอาสา (Service mind) 2) คนในชุมชนเป็นผู้มีจิตสาธารณะ (Public mind) 3) คนในชุมชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของโรงเรียน (School ownership) 4) คนในชุมชนมีความผูกพันกับโรงเรียนอย่างลึกซึ้ง (School dup engagement) 5) คนในชุมชนมีภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) และ 6) คนในชุมชนมีความรักใคร่สามัคคี (Unity)

Abstract

This research was aimed to study the context of small size school (number of the student less than 40) which were expected to close down in academic year 2012. To study social impact affected the community in service area of the 6 small size schools which were closed down in academic year 2011. To study the way to strengthen and develop small size school to avoid being closed down in academic year 2012. The Qualitative research began to study the knowledge, theory and involved Thai and foreign researches which respond this research purposes during 2011-2013 A.D

The 2 target groups of this research were the 6 small size schools which were closed down in the academic year 2011 and the 9 small size schools (number of the student less than 40) which were expected to close down in the academic year 2012. Three data sources were documentary data, personnel data and Internet search engine data. The instruments for data collecting of this research were the researcher ownself and the other support data collecting instruments : in-depth interview fieldnote, participatory and non participatory observation fieldnote, small groups discussion fieldnote and documentary analysis  fieldnote. The results of  this research were revealed as 3 purposes.

1. 9 small size schools (number of student less than 40)  which were expected to closed down in the academic year 2012  were located in three districts :  Muang district, Pasang district and Maetha district. They were about 5-7 kilometres far away from each other with convenient transportation. There were Main roads and sub roads linked to every village. Most of  the villagers were poor, they  send their kids to the school in the village. Few villagers were rich, they send their kids to study in the town because the convenient of transportation. So it reduced number of the student in the village to be smaller and it became small size school. Students in small size schools were Thai, hilltribe and alien students from Myanmar, Cambodia and Lao which moved with their parents to the village.

2. Social impact effected to the community of 6 small size schools closed down in 2011 were revealed in both aspects, positive and negative way. The positive aspect effected both school administrators and teachers. For school  administrator, before their schools were closed down they had to teach  students in class because the school lack of  teacher. Their upper office wouldn’t sent new teacher for their school if it was small size school. For the teacher, they had to responsible for many class rooms in the same time, some school didn’t have school administrator so the teacher in school might take the role of   school administrator also, that would make them feel boring and tired and prefer to go teaching at a bigger size school. After their schools were closed down they moved to new bigger school, their work were more comfortable. The new bigger school had more students, more budget, enough teacher and instructional media. Both school administrator and teacher were satisfied to move to bigger school. But the negative aspect affected people in the village. The students had to travel to study in another village, their parents,  school committee worry about  dangerous of travelling, school employees : school employed teachers, cooks  and Vender would lose their jobs, so those people would protested if their school were   closing down. Another important reason was one of the village component was missing (village component : Home, temple and school), but after school administrators and teachers moved to work in the other big size schools the problems come to the end.

3. The way to strengthen and develope small size school (number of students less than 40) which were expected to close down in the academic year 2012.

The finding found that 9 small size schools used the participation of 3 parts in community : school committee, parents and community to strengthen and develop the schools and used “CIPRA  Approach”, comprise of 1) Technique of creating school confidence = C 2) The strategy of increasing = I 3) Technique of participative = P 4) Resources funding = R and  Relationship = R 5) The academic developing = A The other factors affected school strengthening were 6 desired characteristics of the community : 1) Service mind 2) Public mind 3) School ownership 4) School dup engagement 5) Leadership and 6) Unity

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

Nuttakul Roonnaphab

รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1