การศึกษาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับ ปริญญาบัณฑิตที่จัดการเรียนการสอนตามรูปแบบซินเนคติกส์ / The study of creative writing ability for undergrate students through synectics instructional model.

Main Article Content

Achiya Limkul

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่จัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ
ซินเนคติกส์ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบซินเนคติกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา THA 1303 การพัฒนาทักษะการเขียน (Writing Skills Development) ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556  มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จำนวน 40 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มใช้เวลาในการทดลอง 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 คาบ คาบละ 50 นาที รวมทั้งสิ้น 28 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดการเรียนการสอนตามรูปแบบซินเนคติกส์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบซินเนคติกส์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( ), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติทดสอบที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test  Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่จัดการเรียนการสอนตามรูปแบบซินเนคติกส์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบซินเนคติกส์โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

Abstract

The purposes of this research were to: 1) compare the creative writing ability of undergraduate students before and after learning through synectics instructional model and 2) study the students’ satisfaction towards synectics instructional model.  The sample was collected by simple random sampling.  The sample group included 40 first year students majoring in Thai of Roi-Et Rajabhat University who enrolling in THA 1303 Writing Skills Development class during the first semester of academic year 2013.  The experiment took 7 weeks with a schedule of 4 periods a week. Each period contains 50 minutes.  The instruments used in this research were synectics instructional model lesson plans, Creative Writing Ability Test and a questionnaire. The data was analyzed through mean score ( ), Standard Deviation (S.D.), T-test Dependent and content analysis. The findings were as follows. 1) The creative writing ability through synectics instructional model of undergraduate students between pretest and posttest was significantly different at the level .05 and 2) The students’ satisfaction towards synectics instructional model was generally at the high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

Achiya Limkul

Roi-Et Rajabhat University