การเปรียบเทียบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการสืบเสาะที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

Nung Phummala

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการเรียนอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการสืบเสาะที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างที่เรียนด้วยการเรียนอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการสืบเสาะวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) 3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการเรียนอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการสืบเสาะวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) 4) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการเรียนอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการสืบเสาะ  วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์)5) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ที่เรียนด้วยการเรียนอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการสืบเสาะ  6) เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการสืบเสาะวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนวัดหอมเกร็ด ได้โดยการสุ่มอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 2 กลุ่ม จำนวน 68 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1และ 2 กลุ่มละ 34 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 แผน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5)แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา 6) แบบสังเกตพฤติกรรม  7)แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างที่เรียนด้วยการเรียนอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการสืบเสาะ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการเรียนอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการสืบเสาะ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์)ก่อนเรียนกับหลังเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ผลการเปรียบเทียบการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการเรียนอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการสืบเสาะ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อยู่ในระดับดี
4. ผลการเปรียบเทียบผลทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการเรียนอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการสืบเสาะ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์)ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาของอยู่ในระดับดี
5. ผลของความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการสืบเสาะ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก
3. ผลการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการเรียนอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการสืบเสาะ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อยู่ในระดับดี
The purposes of this research were 1) Development of e-learning using problem-based and inquiry that affect students achievement and problem solving skill in occupations and technology(computer) for prathomsuksa 5 2 ) To compare achievement after learning of students in prathomsuksa 5 between the studies with e-learning using the problem-based and inquiry in occupations and technology(computer). 3) To compare achievement. Before and after learning of students in prathomsuksa 5 the studies with e-learning using problem-based and inquiry in occupations and technology(computer). 4 ) To compare the behavior of students in prathomsuksa 5 the studies with e-learning using problem-based and inquiry. 5) To compare the problem solving skills of students in prathomsuksa 5 the studies with e-learning using problem-based and inquiry in occupations and technology(computer). 6) To study the satisfaction of students in prathomsuksa 5 the studies with e-learning using problem-based and inquiry in occupations and technology(computer). The sample used in the research consisted of 68 peoples divided into two groups, one experimental group and two groups 34 peoples. students in Prathomsuksa 5, year 2013  Wathomkred school by simple random sampling.
The instruments of this research were 1) A structured interview 2)Learning management system (LMS) using problem-based and inquiry that affect student achievement and problem solving skill. 3) 2 lesson plans. 4) The achievement test.5) The measure problem-solving skills.6) A behavior observation form.7) questionnaire Satisfaction. The collected data were analyzed by mean, standard deviation and t-test dependent.
The results of the research were as follows:
1. Comparison of achievement after learning of students in prathomsuksa 5  between the studies with e-learning using the problem-based and inquiry in occupations and technology(computer). Did not differ statistically significant at the .01 level.
2. Comparison of achievement before and after learning of students in prathomsuksa 5 the studies with e-learning using the problem-based and inquiry learning in occupations and technology(computer). The difference is statistically significant at the 0.01 level after learning higher than before learning .
3. The comparison of behavioral observation of students in prathomsuksa 5 the studies with e-learning using the problem-based and inquiry learning in occupations and technology(computer).. did not differ statistically significant at the 0.01 level was good.
4. The comparison of problem-solving skills of students in prathomsuksa 5 the studies with e-learning using the problem-based and inquiry learning in occupations and technology(computer). Did not differ significantly statistical level 0.01.Students with problem solving skills of a good level.

5. The results of the satisfaction of the students in prathomsuksa 5 the studies with e-learning using the problem-based and inquiry learning in occupations and technology(computer). Did not differ statistically significant at the .01 level .Student satisfaction level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

Nung Phummala

teacher at Wathomkred school