การพัฒนาหุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต : กรณีศึกษาหุ่นกระบอกชุดสามก๊ก และหุ่นกระบอกชุดตะเลงพ่าย/The Development of the chakrabhand posayakrit puppet theatre : a case study of the romance of the three kingdoms and talengphai

Main Article Content

Danai Imsuwanvitaya

Abstract

บทคัดย่อ

หุ่นกระบอกเป็นศิลปกรรมของไทยที่ได้รวมความงดงามและจุดเด่นของศาสตร์แต่ละแขนงไว้ได้อย่างลงตัว ซึ่งจักรพันธุ์ โปษยกฤต จิตรกรอิสระ ได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 52 นายช่างเอกในรอบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน  หุ่นกระบอกขึ้น ด้วยความรักและความผูกพันอันเกิดจากการที่ได้เคยเห็นและสัมผัสหุ่นกระบอกในวัยเยาว์ เป็นประสบการณ์ที่ทำให้จักรพันธุ์ ริเริ่มสร้างสรรค์รูปแบบของหุ่นกระบอกขึ้นใหม่ด้วยตนเอง หลุดพ้นออกจากรูปแบบของหุ่นกระบอกดั้งเดิม เริ่มจากการสร้างหุ่นออกภาษาชุดใหญ่ที่มีรายละเอียดและส่วนประกอบต่างๆมากมาย คือ หุ่นกระบอกสามก๊ก ตอนโจโฉแตกทัพเรือ ซึ่งเป็นการเปิดประตูทางความคิดให้กับการพัฒนาหุ่นกระบอกชุดตะเลงพ่ายในเวลาต่อมา จึงเป็นที่มาของการศึกษาพัฒนาการในการสร้างหุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โดยผลการศึกษาค้นพบว่า

1. หุ่นกระบอกสามก๊กได้ส่งผลการพัฒนามาสู่หุ่นกระบอกตะเลงพ่าย สำหรับการใช้วัสดุแบบใหม่ในการสร้างหุ่น รวมถึงการสร้างกลไกการเคลื่อนไหวในส่วนของหัว และมือหุ่นให้คล้ายคลึงมนุษย์มากที่สุด ซึ่งแตกต่างจากหุ่นกระบอกแบบดั้งเดิม

2. การสร้างฉากและเครื่องประกอบฉากหุ่นกระบอกสามก๊กที่เริ่มให้ความสำคัญกับความเหมือนจริง ได้ส่งผลการพัฒนามาสู่หุ่นกระบอกตะเลงพ่าย ให้มีความสวยงามยิ่งใหญ่ และสมจริง แสดงความเป็นมิติมากขึ้น ทั้งแฝงด้วยคุณค่าทางศิลปกรรมทุกแขนง

3. พัฒนาการของหุ่นกระบอกตะเลงพ่ายในส่วนการเชิดหุ่นกระบอกที่อาศัยความรู้จากการกำกับเวทีอย่างเป็นระบบ รวมถึงการ การประพันธ์บท และดนตรีไทยที่ไพเราะ เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากหุ่นกระบอกสามก๊ก ทั้งสิ้น

Abstract

Thai puppetry is a composite art which has been perfected over time. Chakrabhand Posayakrit, one among the 52 celebrated master craftsmen of the bicentennial Ratanakosin period and National Artist in Visual Arts, has been inspired to create his puppet collections and productions out of love and commitment that has come from his childhood days of seeing puppetry in production. He has created puppet collections in his own style, which differs from the old traditions. He made his own puppet collections for "The Romance of the Three Kingdoms, the episode of the Battle of the Red Cliff”, which has led to the ongoing development of "Taleng Phai."  The study of the development of the puppetry of Chakrabhand Posayakrit has the following findings:

1. The puppet production of "The Romance of the Three Kingdoms, the episode of The Battle of the Red Cliff” has led to the development of the "Taleng Phai Puppet Production" by using new materials in creation and devising mechanism for the movement of the puppet head and hand to resemble human mobility, which differs from old puppet traditions.

2. In creating puppets, scenery and props, "The Romance of the Three Kingdoms, the episode of The Battle of the Red Cliff” puts major emphasis on realism. It has resulted in the development of "Taleng Phai" in a larger-scale, more exquisite and realistic style, with added artistic dimensions and properties of other fields of art.

3. In developing "Taleng Phai", knowledge in modern theatre is applied with the systematic use of stage direction, lighting and special effects, following written scripts and full live orchestra, many components of which derived from the previous production of "The Romance of The Three Kingdoms, the episode of The Battle of the Red Cliff.”

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ
Author Biography

Danai Imsuwanvitaya

นักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร