พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน

Main Article Content

Montra Ponsutta

Abstract

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 2) การมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษา และ 3) พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 386 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน

                  ผลการวิจัยพบว่า

      1.พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการควบคุมการปฏิบัติงาน อยู่ในอันดับสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการเป็นผู้นำ และด้านการติดต่อสื่อสารอยู่ในอันดับต่ำสุด

                  2.การมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการมีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม อยู่ในอันดับสูงสุด  รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล อยู่ในอันดับต่ำสุด

                  3.พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 ในภาพรวมมี 4 ด้าน คือ ด้านการควบคุมการปฏิบัติงาน ด้านการติดต่อสื่อสารด้านการตัดสินใจ และด้านการกำหนดเป้าหมาย โดยร่วมกันส่งผลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 มีประสิทธิภาพในการทำนาย ร้อยละ 67.10 

                    ข้อค้นพบจากการวิจัย  คือ  ผู้บริหารสถานศึกษาควรปรับปรุงพฤติกรรมการบริหารด้านการควบคุมการปฏิบัติงาน  ขณะเดียวกันผู้บริหารสถานศึกษาต้องพัฒนาพฤติกรรมการบริหารด้านการติดต่อสื่อสารให้มากขึ้น  เพื่อที่จะทำให้การมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น 

คำสำคัญ : พฤติกรรมการบริหาร, การมีส่วนร่วมของชุมชน

 

 

 

 

Abstract

             

The purposes of this research were to study: 1) the level of administration behaviors of school administrators  2) the level of community participation in schools and 3) Administration behaviors of school  administrators  affecting community  participation in schools under phetchaburi primary education service area office 2. There were 386 samples in this research. The research instrument was a 5-rating scale questionnaire.The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis.

The results of the research were as follows:

1. Administration Behaviors of School Administrators under Phetchaburi Primary Education Service Area Office 2 , as a whole and each aspect were at a high level. The control was at the highest level, followed by the leadership,and communication was at the lowest level.

2. The level of community participation in schools under phetchaburi primary education service area office 2, as a whole and each aspect were at a high level.  The participation in the initiative was at the highest level, followed by the plan, and Evaluation was at the lowest level.

3. There were administration behaviors of school administrators  affecting community  participation in schools under phetchaburi primary education service area office 2, as a whole have 4 facter is Control , Communication, Decision making, Goal setting with statistical significance at the .01 level. And predictive efficiency was 67.10 percent.

Based on the research results: Administrators should improve the management of behavioral control operations. Meanwhile, administrators must develop behavior management, communication and more. In order to make the participation of the community in education Primary Education Service Area Office 2 Petchburi effectiveness even more.

 

Keys word: Administration  Behaviors  , Community  Participation

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

Montra Ponsutta

Teacher, Nonghong School, Kaeng Krachan, Phetchaburi.