สนามเด็กเล่นสำหรับเด็กพิเศษ/ Playground for Autistic Children

Main Article Content

Nattakun Tantiphaichit

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบ เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพในสนามเด็กเล่นสำหรับเด็กพิเศษ โดยทำการศึกษาจากวรรณกรรมและศึกษากรณีศึกษา  3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์การศึกษาพิเศษเขต 5 จังหวัดสุพรรณบุรี โรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล จังหวัดสุพรรณบุรี และสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาการเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การสังเกตพฤติกรรมการเล่นเป็นกลุ่มของเด็กพิเศษทั้ง 3 กรณีศึกษาโดยใช้เครื่องมือ Checklist และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเด็กพิเศษ โดยเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงโดยเลือกจากกลุ่มวิชาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับเด็กพิเศษเป็นอย่างดี ประกอบด้วย แพทย์แผนกกุมารเวช หัวหน้าพยาบาลแผนกจิตเวชเด็ก นักกิจกรรมบำบัดชำนาญการ ครูผู้สอนเด็กพิเศษในระดับชั้นอนุบาล และผู้ปกครองของเด็กพิเศษ เพื่อตอบแบบสอบถามลักษณะกายภาพในสนามเด็กเล่นที่ช่วยส่งเสริมการเล่นเป็นกลุ่มของเด็กพิเศษ นำมาวิเคราะห์หาลักษณะทางกายภาพที่ส่งเสริมการพัฒนาการทางด้านสังคมของเด็กพิเศษ วิธีการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพในสนามเด็กเล่นสำหรับเด็กพิเศษ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Analysis) โดยใช้ Mapping นำเสนอข้อมูล

ผลสรุปจากการวิจัยพบว่า ลักษณะทางกายภาพในสนามเด็กเล่นสำหรับเด็กพิเศษ มีลักษณะพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย สามารถมองเห็นได้ทั่วถึง มีลักษณะของระนาบด้านบน (Overhead Plane) ให้ร่มเงาทั้งในรูปแบบของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมหรือต้นไม้ให้ความรู้สึกปลอดภัยและสบาย มีระนาบทางตั้ง (Vertical Plane) อย่างน้อย 1 ด้าน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเข้าสังคมระหว่างเด็กพิเศษ 2 คนหรือระหว่างเด็กพิเศษกับผู้ปกครอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของสนามเด็กเล่นว่าสามารถรองรับปริมาณการรวมกลุ่มของเด็กพิเศษได้มากหรือน้อยเพียงใด ประกอบด้วยเครื่องเล่นที่ดึงดูดความสนใจเช่น มีรูปทรงที่โค้งมนไม่ก่อให้เกิดอันตรายในการเล่นและสีสันที่สดใส ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปออกแบบลักษณะทางกายภาพในสนามเด็กเล่นสำหรับเด็กพิเศษในประเทศไทยในอนาคต

Abstract

This research aims to study the design guidelines for playgrounds for autistic children, three methods were used.

1. Investigation was undertaken into previous research of Autistic children’s playground needs.

2. Behavioral observation studies were undertaken of autistic children in a playground environment in the following three places is Special education district 5 in Suphanburi, Suphanburipanyanukoon school in Suphanburi and National institute for child and family development Mahidol University.

3. Expert interviews were undertaken by the writer with professionals in the following fields: pediatrics, child psychiatrist nurses, occupational therapists, teachers and parents of autistic children.

The methodology used in this study was spatial analysis.

The results of this research showed that playgrounds for autistic children should be easily accessible visually appealing and set out to encourage socializing between autistic children or autistic children and their parents. The size of the playing field should be adequate for the number of autistic children. Playground equipment which is colorful is a focal point and the playground equipment which has safety considerations and freeform built into the design should become the guideline of future playgrounds for the autistic children of Thailand.

 

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ