การให้ความหมาย รูปแบบและกระบวนการออมของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขาการประกอบการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร/The social construction of meaning, patterns and saving process of master’s students of business administration program in entrepreneurship

Main Article Content

Yanisa Phuanpoh

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ความหมาย รูปแบบ และกระบวนการออมรวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการออมของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขาการประกอบการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research“การสร้างทฤษฎีฐานราก” เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ระดับลึก การสังเกตและจดบันทึก การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการแปลความและตีความข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นักศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขาการประกอบการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 18 คน

ผลการการศึกษาพบว่า 1) การให้ความหมายคำว่า “การออม” คือ 1. การแบ่งเงินส่วนหนึ่งจากรายได้เพื่อเก็บไว้ สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต 2.การเก็บเงินส่วนหนึ่งจากรายได้เพื่อเอาไว้เป็นทุนและบริหารจัดการทุนนั้นให้งอกเงย เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการลงทุน ทำธุรกิจส่วนตัว 3.การสร้างวินัยในการเก็บเงิน รวมถึงการวางแผนทางการเงินที่จะใช้สร้างหลักประกันให้แก่ตนเอง ครอบครัวและเป็นทุนการศึกษาของบุตร 4. การแบ่งเงินส่วนหนึ่งจากรายได้เพื่อเก็บไว้ สำหรับซื้อทรัพย์สินในอนาคต 5.การประหยัด รู้จักเก็บเงินไว้ใช้ซื้อสิ่งของที่อยากได้และจำเป็น 2) รูปแบบการออมเงินมี 2 รูปแบบ คือ 1.รูปแบบการออมที่เลือกตามความสมัครใจ และ 2.รูปแบบที่ได้การสนับสนุนจากหน่วยงาน หรือ ครอบครัว 3) กระบวนการออม มี 2 รูปแบบ คือ 1.กระบวนการออมแบบมีการวางแผน และ2.กระบวนการออมแบบไม่มีการวางแผน 4) ปัญหาและอุปสรรคในการออม คือ 1.ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบกับรายได้หลัก 2.การใช้จ่ายที่ไม่ได้วางแผน 3.ปัญหาเกิดจากคนใกล้ชิด 4.การวางแผนการออมไม่รอบคอบ 5. ค่าใช้จ่ายไม่แน่นอน

 

Abstract

This qualitative research aims to investigate the social construction of meaning, patterns, saving process and saving problems based on grounded theory approach. The data were collected from 18 master’s students of Business Administration program in Entrepreneurship at Silpakorn University using in-depth interviews, observations and note-taking, and document analysis.

The results of this study found that ‘saving’ is defined as 1) an act of sparing the portion of disposable income accumulated for future expense; 2) an act of saving money for long-term investment to prepare for private business; 3) a positive self-discipline of planning to pay off tuition including purchase of securities for the families; 4) an act of saving money for a planned purchase of assets; and 5) an act of saving money for personal goals. The patterns of saving consisted of voluntary saving and supportive saving from families or institutes. Saving process is categorized into two types: 1) planned saving and         2) unplanned saving. Last, the obstacles to saving behaviors include 1) external factors affecting the main income, 2) unplanned expenditure, 3) the problems caused by friends, 4) a lack of discrete saving planning, and 5) uncertain expenses.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

Yanisa Phuanpoh

งานพัสดุ สำนักงานอธิการบดี กองงานวิทยาเขต  พระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร