การออกแบบเรขศิลป์เพื่อนำเสนอภูมิปัญญาวัฒนธรรมการรับประทาน อาหารอีสานสู่สากล (Traditional wisdom in graphic design through E-San dining at the international level)

Main Article Content

อัจฉรา แก้วดวงดี (Atchara Kaewduangdee)
เรืองลดา ปุณยลิขิต (Rueanglada Punyalikhit)

Abstract

              อาหารเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ในการยังชีพมาตั้งแต่เกิดและการรับประทานอาหารก็เป็นกิจกรรมที่มนุษย์ปฏิบัติกับอาหารที่พวกเขาหาและปรุงมาอย่างยาวนานเช่นกันพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคนทั่วโลก    แต่ลักษณะทางกายภาพของโลกทั้งสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศทำให้อาหารและการรับประทานอาหารของแต่ละพื้นที่ในโลกแตกต่างกันเกิดเป็นวัฒนธรรมการกินของพื้นที่นั้นๆ ขึ้นมา  ซึ่งรวมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสานในประเทศไทยเช่นกัน


               บทความ เรื่อง การออกแบบเรขศิลป์เพื่อนำเสนอภูมิปัญญาวัฒนธรรมการรับประทานอาหารอีสานสู่สากลนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวัฒนธรรมและอาหารการกินของชาวอีสานในประเทศไทยตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหาร ภาชนะที่ใช้ปรุงและใส่อาหาร วิธีการรับประทานอาหาร รวมถึงประเพณีสำคัญของชาวอีสานที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งศึกษาในพื้นที่บ้านหัวขัว ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม และนำความรู้พื้นฐานเหล่านี้ไปประยุกต์ให้การรับประทานอาหารพื้นบ้าน มีรูปแบบที่ร่วมสมัยและน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยใช้ทักษะทางการออกแบบเรขศิลป์ (Graphic- design) ทั้งการออกแบบการจัดตกแต่งบนโต๊ะอาหาร  การออกแบบการกินอาหารอีสานให้ทันสมัยแต่ยังคงกลิ่นอายความเป็นพื้นบ้านอยู่และการนำวัสดุภายในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการตกแต่งอาหาร เพื่อนำเสนอภูมิปัญญาและวัฒนธรรมการรับประทานอาหารอีสานดังกล่าวออกสู่ภายนอกในระดับสากลโดยผลการศึกษาตอบสมมติฐานที่ว่าการใช้ความรู้ด้านการออกแบบเรขศิลป์ สามารถนำเสนอภูมิปัญญาและวัฒนธรรมการรับประทานอาหารอีสานออกสู่ภายนอก และเกิดการสื่อสารระหว่างชุมชนกับผู้คนภายนอกผ่านการนำเสนอนี้ได้


 


                Food is what people eat to live and dining is regarded as an activity that people do after hunting and cooking so far. When “dining” or eating a meal is considered a common activity of human beings globally, types of food and dining cultures vary from region to region due to geographical factors or weather. Thailand Northeastern region or “E-San” also has it’s own distinctive dining culture.


               The objective of the thesis “The graphic design for presenting traditional wisdom through E-San dining to the international : A case study of Bann Huakua, Tambon Kaedam, Kaedam District, Mahasarakham province” is to study dining culture of E-san people in Thailand in the past including origin of food ingredients, cookware, important dining cultures, and to utilize designing skills such as decoration of ornaments on the tabletop, using local materials for food decoration and table setting to enhance E-San dining culture more interesting and contemporary yet reserve its unique local style.


               This study shows that by applying the knowledge of graphic design to the local E-San dining culture can effectively present E-San traditional wisdom to the international and promote interaction between locals and none-local people.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts