ผลการเรียนแบบอีเลิร์นนิงด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะเพื่อการแก้ปัญหา เชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาชีพครู EFFECTS OF E-LEARNING BY USING INQUIRY BASED LEARNING FOR CREATIVE PROBLEM SOLVING OF TEACHING PROFESSION, UNDERGRADUATE STUDENTS

Main Article Content

Chuleeporn Pintanasuwan

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ที่เรียนแบบอีเลิร์นนิงด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะเพื่อการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาที่เรียนแบบ
อีเลิร์นนิงด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะเพื่อการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่เรียนแบบอีเลิร์นนิงด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะเพื่อการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ชั้นปีที่ 2 จำนวน 36 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Random Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 7 แผน  2) บทเรียน
อีเลิร์นนิง 3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 4) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 5) แบบประเมินพฤติกรรม การเรียน 6) แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาชีพครู ที่เรียนแบบอีเลิร์นนิงด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะเพื่อการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลการเรียนรู้ของนักศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา  พบว่าโดยรวมนักศึกษามีพฤติกรรมการเรียนอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง นักศึกษามีการเข้าชั้นเรียนตามเวลาที่นัดหมาย มีวินัยในการเรียนและมีความสนใจใฝ่รู้  ด้านความรับผิดชอบต่อการงาน นักศึกษามีการส่งงานตามเวลาที่กำหนด มีการซักถาม การแสดงความคิดเห็น และการอภิปรายประเด็นคำถาม และด้านความรับผิดชอบต่อผู้อื่น พบว่านักศึกษามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำกิจกรรมบนระบบอีเลิร์นนิงร่วมกัน อยู่ในระดับดี  4) ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาชีพครู ที่มีต่อการเรียนแบบอีเลิร์นนิงด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะเพื่อการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมาก ( =4.18 และ S.D.=0.17)

Abstract

The purposes of this research were 1) to compare pretest and posttest of competency by using Inquiry based learning for Creative problem solving 2) to compare pretest and posttest of learning achievement on e-learning by using Inquiry based learning for creative problem solving 3) behavior observation from  e-learning by using Inquiry based learning for creative problem solving 4) to study student’s opinions towards e-learning by using Inquiry based learning for creative problem solving. The sample used in the research consisted of 36 the second semester of academic year 2013 by random sampling

The Instrument in this research were 1) lesson plans. 2) e-learning using Inquiry based learning for Creative problem solving. 3) competency of using Inquiry based learning for creative problem solving test. 4) the achievement test 5) behavior observation form. 6) questionnaire on students’ opinions. The data analysis were mean, standard deviation and t-test

The results of research were as follows:

1) Competency of  using Inquiry based learning for Creative problem solving was higher than pretest at .01 level of significance.

2) Posttest of the learning achievement of e-learning by using Inquiry based learning for creative problem solving was higher than pretest at .01 level of significance.

3) Behavior of student who learned with e-learning by using Inquiry based learning for creative problem solving was good level when considering also found that Student were responsible for themselves to attend on time, have a discipline and Interested in learning. Student were responsible for homework to send on time, participate in class, have a discussion. Student were responsible for others to knowledge sharing for others

4) The opinion of student towards e-learning using Inquiry based learning for creative problem solving was good positive level. ( =4.18, S.D.=0.17)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

Chuleeporn Pintanasuwan

Graduate School,Silpakorn University