รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะ เชิงผลสัมฤทธิ์ของเทศบาล อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (New Public Management Model Affecting Achievement in Public Service Provision of Municipalities in Sam Roi Yot District in Prachuap Khiri Khan Province)

Main Article Content

สุนารี สุกิจปาณีนิจ (Sunaree Sukigpaneenit)
ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน (Supanut Subnawin)
โสภาพร กล่ำสกุล (Sopaphon Kamsakun)

Abstract

                 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางด้านแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะเชิงผลสัมฤทธิ์ของเทศบาล อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) ศึกษาผลของการจัดบริการสาธารณะเชิงผลสัมฤทธิ์ของเทศบาล อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 3) สังเคราะห์หารูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่เหมาะสมต่อการจัดบริการสาธารณะเชิงผลสัมฤทธิ์ของเทศบาล อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตการปกครองของเทศบาลตำบลไร่เก่าและตำบลไร่ใหม่ จำนวน 392 คน และการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล ปลัดเทศบาล หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการกองและประธานชุมชนของเทศบาลตำบลไร่เก่าและตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 19 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


               ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยทางด้านแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะเชิงผลสัมฤทธิ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดลงไปคือ ยึดมั่นภารกิจหน้าที่เป็นสำคัญ หน่วยงานของรัฐหาเงินมากกว่าใช้จ่ายเงิน เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันเพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่ดี ปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ตามลำดับ 2) ผลของการจัดบริการสาธารณะเชิงผลสัมฤทธิ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดลงไป คือ ด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตามลำดับ และ 3) รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่เหมาะสมคือ เทศบาลควรทำงานเชิงรุกโดยลงพื้นที่สำรวจปัญหาและความต้องการของประชาชนนำมาจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังโดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติงาน เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามา มีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมแก้ไขปัญหา และร่วมรับผลประโยชน์ อีกทั้งควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงานและมีการประเมินผลการทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน มีการกระจายอำนาจ ทำงานเป็นทีมและทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ ใช้ทรัพยากรในการจัดทำบริการสาธารณะให้คุมค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะและเปิดช่องทางการสื่อสารหลากหลายช่องทาง เพื่อให้เข้าถึงประชาชนมากที่สุดโดยเน้นการสื่อสารสองทาง


 


               The purpose were to study: 1) study the factors in the aspect of new public management concept affecting achievement of public service provision of municipalities in Sam Roi Yot District in Prachuap Khiri Khan Province, 2) investigate the results of public service provision in the aspect of achievement, and 3) synthesize to find out the new public management model proper to public service provision in the aspect of achievement of municipalities in Sam Roi Yot District in Prachuap Khiri Khan Province. The mixed research methodology was applied in this study. The quantitative data were collected from 392 people living in the areas under the administration of Rai Kao Subdistrict Municipality and Rai Mai Subdistrict Municipality, Sam Roi Yot District, Prachuap Khiri Khan Province by using a questionnaire, whereas the structured interview form was used for collecting qualitative data from 19 key informants, selected by purposive sampling method, consisting of Mayors, Chairmen of the Municipal Council, Municipal Clerk, Chiefs of Municipal Clerk Office, Chiefs of Divisions, and Community Presidents, of Rai Kao Subdistrict Municipality and Rai Mai Subdistrict Municipality, Sam Roi Yot District, Prachuap Khiri Khan Province. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis.


               The research results were as follows: 1) The factors in the aspect of new public management concept affecting achievement of public service provision of municipalities in Sam Roi Yot District in Prachuap Khiri Khan Province were overall at a high level.  The factors could be ranked in descending order of their means as follows: (1) being driven by missions, rather than rules, (2) concentrating on earning money rather than spending it, (3) encouraging competition rather than monopolies for better goods and services, and (4) meeting the needs of the customer, 2) The results of public service provision in the aspect of achievement of Municipalities in Sam Roi Yot District, Prachuap Khiri Khan Province were overall at a high level. They could be ranked in descending order of their means as follows: (1) art, culture, tradition, and local wisdom, (2) promotion of quality of life, (3) management and conservation of natural resources and environment, and (4) infrastructure, and 3) The new public management model proper to public service provision in the aspect of achievement of municipalities in Sam Roi Yot District in Prachuap Khiri Khan Provinceb was that  the municipalities should apply proactive concept in working by going into the communities to know people’s  needs and problems and set the priority by using people-oriented concept in perfomance, have all sectors participate in thinking, planning, implementing, solving problems, and receiving benefits in public service provision, determine the clear vision, missions, objectives, and goal in working and evaluation of performance to meet the people’s needs, decentralize the authority, have teamwork and work with honesty, transparency, accountabllity, utilize the resources in public service provision worthily with the highest benefits, use new technology in public service provision, and have various communication channels to get access to the people by focusing on two-way communication.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts