การปฏิรูปเรือนจำผ่านกระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยเพื่อคืนผู้ต้องขังสู่สังคม กรณีศึกษาเรือนจำอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ (The Prison Reform through Process of Rehabilitation for Returning Prisoners to Society : A Case study of Nangrong District Prison, Buririam Province)

Main Article Content

นิติพล ธาระรูป (Nitiphol Thararoop)

Abstract

             การศึกษาวิจัยเรื่อง “การปฏิรูปเรือนจำผ่านกระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยเพื่อคืนผู้ต้องขังสู่สังคม กรณีศึกษาเรือนจำอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์”  มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานของเรือนจำในการพัฒนาพฤตินิสัยเพื่อคืนผู้ต้องขังสู่ชุมชน และ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งคืนผู้ต้องขังกลับสู่สังคมของเรือนจำอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม กับอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้บัญชาการเรือนจำ และกลุ่มเจ้าหน้าที่เรือนจำอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  ผู้พ้นโทษที่ผ่านกระบวนพัฒนาพฤตินิสัยของเรือนจำอำเภอนางรอง และกลับเข้าไปใช้ชีวิตในหมู่บ้านในจังหวัดบุรีรัมย์ และผู้แทนชุมชนหมู่บ้านในจังหวัดบุรีรัมย์


               ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) การรับตัวผู้ต้องขัง                          2) การดำเนินการพัฒนาพฤตินิสัย 3) เตรียมการปล่อยตัว  และ 4) การดูแลหลังการปล่อยตัว โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพฤตินิสัยให้กับผู้ต้องขังให้มีความรู้ มีทักษะการประกอบอาชีพ มีสุขภาพดี สร้างสังคมอบอุ่น พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม โดยนำระบบคณะกรรมการหมู่บ้านในเรือนจำดูแลผู้ต้องขัง ซึ่งเป็นเรือนจำแห่งเดียวของประเทศไทยใช้รูปแบบดังกล่าว ทำให้ผู้ต้องขังมีอัตราการกระทำผิดกฎหมายซ้ำเพียง 11% และไม่พบสารเสพติด และสิ่งของต้องห้ามในเรือนจำ 100 %


               สำหรับแนวทางการส่งคืนผู้ต้องขังกลับสู่สังคม พบว่า เรือนจำได้วางแผนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคล (Sentence Plan)  ตามนโยบายของกรมราชทัณฑ์ ซึ่งเป็นแผนพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังขณะอยู่ในเรือนจำ และเมื่อผู้ต้องขังพ้นโทษกลับสู่สังคม แต่ละหมู่บ้านจะมีแผนชีวิตหมู่บ้าน (Village Plan) ซึ่งเป็นแผนตามนโยบายของจังหวัดบุรีรัมย์คอยรองรับอยู่ ทำให้การดำเนินงานมีทิศทางที่ชัดเจนและสอดรับกัน เมื่อผู้ต้องขังพ้นโทษออกไป หมู่บ้านก็มีแผนรองรับผู้พ้นโทษให้สังคมยอมรับ และเป็นคนดีของสังคมต่อไป


 


               The study “the Prison Reform through Process of Rehabilitation for Returning Prisoners to Society: a Case Study of Nangrong District Prison, Buriram Province” aimed to 1) find out prison performance model for rehabilitation in returning inmates to the community, and 2) to offer recommendation as guidance to return prisoners to the community at Nangrong district prison, Buriram province.  This study collected the data with qualitative approach by interview with the former Buriram provincial governor and focus group with Nangrong prison warden, prison officers, ex-convicts who have passed the rehabilitation program, and village representative.


               The results showed that prison performance model could be divided into 4 stages, i.e. 1) intake, 2) operation rehabilitation, 3) pre-release, and 4) aftercare. Those stages aimed to promote education, healthcare, proper environment for rehabilitation by appointing prison’s village committee that is only one prison in Thailand that use this model. The Nangrong prison have low recidivism rate at 11 % and completely no drug and prohibited items at 100 %.


               For recommendation as guidance to return prisoners to society, the prison set up the sentence plan following Department of Corrections’ policy, which is a rehabilitation plan for all convicts in prison, and then after prisoner release, villages also set up village plan based to support. With the help of the local community, this model can guarantee ex-prisoners could be accepted and will successfully reintegrate into community.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts