รูปแบบตลาดสดในอดีตและรูปแบบตลาดสดในสุพรรณบุรี

Main Article Content

Rattawit Suphachaturas
Ornsiri Panin

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของตลาดสดในระดับชุมชนของสุพรรณบุรีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยกล่าวเทียบเคียงกับรูปแบบของตลาดสดของราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลในแต่ละยุคสมัย เช่น ในสมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อทราบถึงพัฒนาการรูปแบบของตลาดสดและปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบของตลาดสดในแต่ละยุคสมัย ผลการศึกษาพบว่า ตลาดสดในสมัยสุโขทัยนั้นเป็นตลาดบกเนื่องจากตัวเมืองตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำ รูปแบบตลาดสดนั้นซื้อขายกันบริเวณลานโล่งหรือบริเวณกลุ่มเรือนที่มีการผลิตสินค้าในลักษณะย่านการผลิต  ในสมัยอยุธยานั้นตลาดน้ำมีความสำคัญมากขึ้น ส่วนตลาดบกและย่านการผลิตนั้นมีรูปแบบชัดเจนขึ้น มีอาคารในลักษณะตึกแถว การที่อยุธยามีกลุ่มคนหลากหลายชาติพันธุ์ อาคารทางการค้าของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์จึงมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้นรูปแบบของตลาดไม่หลากหลายและซับซ้อนเท่ากับสมัยอยุธยา ตลาดน้ำมีความสำคัญมากกว่าตลาดบก ต่อมาในช่วงรัชกาลที่ 5-6 มีการพัฒนาระบบถนน ตลาดบกจึงมีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ ส่วนในพื้นที่สุพรรณบุรีในสมัยอู่ทองจนถึงสมัยอยุธยานั้นคาดว่ารูปแบบตลาดสดส่วนมากจะเป็นตลาดน้ำ ตลาดบกอาจมีอยู่บ้างในบริเวณที่มีตลาดน้ำและในบริเวณตัวเมือง ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นแบ่งได้เป็น 4 ยุค ยุคแรกส่วนใหญ่เป็นตลาดน้ำ ยุคที่สองเป็นตลาดบกที่อยู่ริมแม่น้ำ ยุคที่สามเป็นตลาดบกที่อยู่ห่างออกมาจากแม่น้ำ ยุคที่สี่เป็นตลาดบกในยุคของการตัดถนน

 

Abstract

This research aims to explore the character of fresh markets the community in Suphanburi province, comparing with the markets in Sukhothai, Ayutthaya and Rattanakosin periods. In consequence of their developments, the research shows that, in Sukhothai, most markets were land markets because the city located away from river and people traded in the community square or in production places. In Ayutthaya era, because of its location, floating markets were popular. With the Ethnic diversity, land markets and production hubs had own explicit characters, commercial building were found and the characters of building depended on each ethnic. However, in the early of Rattanakosin, the characters of market was not complex and diverse as much as in Ayutthaya period. floating market was more significant than land market. During the reign of King Rama 5 and King Rama 6, public facilities and utilities especially road system was well developed which forced land markets to be influent. In terms of Suphanburi province, in the ancient town of  U-Thong to Ayutthaya period, floating markets were very popular. Some land markets were set up beside floating markets and in the metropolitan area. In Rattanakosin period, the markets in Suphanburi were divided into 4 early ages; the first period, most of markets were floating, the second was found that there were land markets along the river, the third, land markets were away from the river, and the fourth was about land market in the era of well road system.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ
Author Biographies

Rattawit Suphachaturas

มหาวิทยาลัยศิลปากร

Ornsiri Panin

ศ.เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์