กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนโสตศึกษาของประเทศไทยในทศวรรษหน้า/STRATEGIC MANAGEMENT DEAF SCHOOL OF THAILAND IN THE NEXT DECADE

Main Article Content

ธาดา อักษรชื่น

Abstract

การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนโสตศึกษาของประเทศไทยในทศวรรษหน้า มีวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบของกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนโสตศึกษาของประเทศไทยในทศวรรษหน้า 2)  ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเรื่องกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนโสตศึกษาของประเทศไทยในทศวรรษหน้า และ 3) ข้อเสนอแนะของผู้บริหารโรงเรียนโสตศึกษาที่มีต่อ กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนโสตศึกษาของประเทศไทยในทศวรรษหน้า กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนโสตศึกษา จำนวน 19 โรงเรียน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามให้ข้อมูล โรงเรียนโสตศึกษาละ 16 คน รวมทั้งสิ้น 304 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ , ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน, การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและการตรวจสอบความเหมาะสมโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงอนาคต (EFR) ผลการวิจัยพบว่า  1. องค์ประกอบของกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนโสตศึกษาของประเทศไทยในทศวรรษหน้า ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้ 1) คุณภาพครูและบุคลากร  2) หลักสูตรและการสอน  3) ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 4) การบริหารจัดการศึกษา 5) การมีส่วนร่วม 6) งบประมาณ 7) สื่อและแหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ รูปแบบกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนโสตศึกษาของประเทศไทยในทศวรรษหน้า ที่ได้วิเคราะห์องค์ประกอบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีความสัมพันธ์ทางตรงระหว่าง หลักสูตรและการสอน, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, สื่อและแหล่งเรียนรู้ กับ คุณภาพครูและบุคลากร, งบประมาณ, การมีส่วนร่วม, การบริหารจัดการศึกษาและความสัมพันธ์ทางอ้อมระหว่าง คุณภาพครูและบุคลากร, การมีส่วนร่วม และงบประมาณ 2. กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียนจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า องค์ประกอบที่ค้นพบในการวิจัย มีความถูกต้อง, เป็นไปได้ และใช้ประโยชน์ได้จริง  3.พบข้อเสนอแนะของผู้บริหารโรงเรียนโสตศึกษาที่มีต่อกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนโสตศึกษาของประเทศไทยในทศวรรษหน้า จำนวน 25 แนวทาง

 

Abstract

The purposes of this research were to determine: the components appropriate to strategic management deaf school of thailand, 2) the appropriate to strategic management deaf school of thailand, and 3) the suggestion to strategic management deaf school of thailand. The samples were the 304 the deaf schools. The research instruments were the questionnaire. The statistical used for data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis path analysis and The EFR model were employed for the appropriation of strategic management deaf school. 1. The components of a model of the of seven components which were  1) development of teacher and personnel,  2) curriculum and teach, 3) learner care, 4) educational management, 5) members participation, 6) resource support 7) Information technology system and learning center. The model of appropriate to strategic management deaf school of thailand by exploratory factor analysis consisted of, were well fitted with the empirical data considering the consistency index such as the highest direct effect variables were curriculum and teach, learner care, Information technology system and learning center with development of teacher and personnel, members participation, and resource support. The highest indirect effect variables were development of teacher and personnel, members participation and resource support. 2. The application of the components from appropriation of strategic management deaf school which was found appropriate, accurate, realizable and in conformity with the research has been proven by expertise. 3. The results showed 25 guidelines for 7 factor components and the appropriate strategic management deaf school of thailand.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

ธาดา อักษรชื่น

รองผู้อำนวยการโรงเรียนโสตศึกษาเทพรัตน์  วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการ