แนวทางการพัฒนาการให้บริการในการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา Guideline for Development of Registration Intellectual Property

Main Article Content

waraporn Tairakthapanakul

Abstract

แนวทางการพัฒนาการให้บริการในการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

Guideline  for  Development of  Registration Intellectual  Property

- บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจของผู้ที่มาติดต่อขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของกรมทรัพย์สินทางปัญญา 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการให้บริการและความต้องการของผู้ที่มาติดต่อขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของกรมทรัพย์สินทางปัญญา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการให้บริการการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ที่มาติดต่อขอรับ          จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ประกอบด้วย เจ้าของทรัพย์สิน        ทางปัญญา บริษัทตัวแทนที่รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมโดยการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า ระดับความรู้ความเข้าใจ ความพึงพอใจ และความต้องการของผู้ที่มาติดต่อขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งในด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยสะดวก ในด้านเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่ให้บริการ อยู่ในระดับมาก โดยมีแนวทาง        การพัฒนาการให้บริการการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ดังนี้ 1) ด้านกระบวนและขั้นตอนการให้บริการ        ควรเปลี่ยนการยื่นเอกสารกับเจ้าหน้าที่เป็นการยื่นผ่านระบบออนไลน์ (online) 2) ด้านเจ้าหน้าที่หรือบุคลากร         ที่ให้บริการ ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาและแนะนำการเตรียมเอกสาร โดยการอธิบายให้ชัดเจนและใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย และควรมีการโยกย้ายสับเปลี่ยนหมุนเวียนงานของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจงานต่างๆ ได้ทุกเรื่อง 3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ควรมีจัดทำป้าย เอกสารแผ่นพับ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา โดยใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย มีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สืบค้นข้อมูล รวมทั้งการบรรยายหรือจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา โดยการเปิดโอกาสได้แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น 4) ด้านอื่นๆ ควรจัด สวัสดิการ เงินเดือน ค่าตอบแทนให้กับเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ หรือสร้างแรงจูงใจในการทำงาน

Abstract

The objectives of this research are 1) To study the behaviors and the understanding of the Department of Intellectual Property (DIP)’s clients to the intellectual property registration. 2) To study the satisfactions to services and needs of the DIP’s clients. 3) To study possible ways to develop the DIP’s intellectual property registration process. The samples are the DIP’s clients, who are either owners of intellectual property or their representatives, with a number of 396 samples. Data is collected from the questionnaire. The statistics used for analysis are percentage, mean, standard deviation and content analysis.

The research found the understanding, satisfactions and needs of DIP’s intellectual property registration clients to the DIP services’ process  and procedures as well as its facility were at a medium level, while the appreciations to DIP staffs who giving services were at a high level. The suggested  ways to develop the DIP’s intellectual property registration process are as follows: 1) Introducing the online registration system. 2) Providing more trained-staffs for giving services and also keeping rotating them to work in different divisions in order to increase their efficiencies. 3) Preparing adequate well-explained documents about the DIP’s intellectual property registration process , the public computers available for the clients to gather further information and arranging the seminar in order to create the internal brain-storning. 4) Motivating DIP staffs by the providing appropriated salary, payment and welfare

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

waraporn Tairakthapanakul

เจ้าหน้าที่บริหารโครงการงานแสดงสินค้าในประเทศและต่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์