การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมุสลิม กรณีศึกษาชุมชนรูสะมิแล (The Curriculum Development Enhancing Quality of Life for Elderly Muslims : A Case Study in Rusamilae Community)

Main Article Content

ศักรินทร์ ชนประชา (Sakkarin Chonpracha)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุมุสลิม ในชุมชนรูสะมิแล 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสภาพร่างกาย ด้านสภาพอารมณ์ ด้านสภาพความเป็นอยู่ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและด้านการปฏิสัมพันธ์ในสังคม 2) เพื่อหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมุสลิม กรณีศึกษาชุมชนรูสะมิแล และ 3) เพื่อติดตามผลการนำความรู้ ทักษะของผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน หลังจากที่ได้รับการพัฒนาไปใช้จริงในการดูแลผู้สูงอายุมุสลิม         


               กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้สูงอายุมุสลิม ในชุมชมรูสะมิแล จำนวน 291 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการพัฒนาความรู้ ทักษะ คือกลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุ (ลูก หลาน ที่คอยดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว) จำนวน 25 คน                                                                                                


               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสำรวจความพึงพอในในคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุมุสลิม หลักสูตรเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมุสลิม กรณีศึกษาชุมชนรูสะมิแล ประกอบด้วย 6 หน่วยการเรียนรู้ แบบทดสอบ ใบบันทึกผลการจัดกิจกรรม และแบบสัมภาษณ์การติดตามผล โดยใช้แผนการทดลองแบบ One Group  Pre-test Post-test Design                                                                                              


               การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินความสอดคล้องของหลักสูตรใช้การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง การสร้างแบบทดสอบใช้การหาค่าอำนาจจำแนกและหาค่าความยากง่ายของแบบทดสอบรายข้อ การหาประสิทธิภาพของหลักสูตรใช้การตรวจสอบหาประสิทธิภาพแบบรายบุคคล ทดสอบความแตกต่างใช้ t- test


               ผลการวิจัยพบว่า                                                                                              


               ความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุมุสลิม ในชุมชนรูสะมิแล พบว่า ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของตนเองในโดยรวมทุกด้านและรายด้านอยู่ในระดับมาก


               ผลการตรวจสอบหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหลักสูตรตามเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์ พบว่า ประสิทธิภาพของกระบวนการที่จัดไว้ในหลักสูตรและประสิทธิภาพของผลของการใช้หลักสูตรผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (82/87)                                              


               ผลการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการใช้หลักสูตร ผลการทดลองสรุปได้ว่า คะแนนหลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าคะแนนก่อนใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


               การติดตามผลการใช้หลักสูตร พบว่า มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องถึงแม้ในบางด้านอาจมีข้อจำกัดในเรื่องของสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยลักษณะติดเตียงหรือติดบ้านแต่โดยทั่วไปถือว่ามีการดำเนินการได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะเรื่องของศาสนกิจทางศาสนาอิสลาม


 


               The main purposes of this research were to 1) explore satisfaction about quality of life  of elderly Muslims in Rusamilae community in 5 aspects: physical condition,  emotional states, living conditions, family relationships and social interaction. 2) find out Eefficiency and effectiveness of the curriculum  enhancing quality of life for elderly Muslims, a case study  in Rusamilae community 3) Follow up the implementation of knowledge and skills of elderly caregivers in the community after being developed and actually used in caring for the elderly Muslims.


               The sample of the research was 291 elderly Muslims in Rusamilae community using simple  random sampling technique and the target group used to develop knowledge and skills was a group of elderly caregivers (grandchildren who take care of elderly people in the family) of 25 people.


               Research instruments  were the satisfaction survey in the quality of life for elderly Muslims, the Curriculum  enhancing the quality of life for elderly Muslims includeing 6 learning units, tests, activity sheets and follow-up interviews by one group pre-test post-test design.


               Data analysis used various types of statistical techniques, mean (gif.latex?\bar{x} ), standard deviation (SD) IOC, Disciminantion, Difficulty and t-test.


               Research results  were as follows:


               In the aspect of the satisfaction in the quality of life  for elderly Muslims in Rusamilae community, it was found that the elderly were satisfied with their quality of life in all aspects and in each aspect at high levels.


               The efficiency and effectiveness of the curriculum according to the relationship between the processes and results found that efficiency of the processes provided in the course and the effectiveness of the results of the curriculum were implemented according to the set criteria (82/87).


               The mean scores of the pre-test and post-test results of the curriculum revealed that the post-test score was higher than the pre-test score at .05 level of statistical significance.  


               The follow-up of the results found that there are ongoing operations although in some areas there may be restrictions on the health of the elderly who are patients in their sickbed or attached to the house. However, the operations were generally performed well, especially in terms of religious Islamic activities.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts