ผลการเรียนแบบผสมผสานที่มีต่อความสามารถในการประกอบคอมพิวเตอร์ของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เรื่องการติดตั้ง ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

Main Article Content

ศดิศ สัตยพันธ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสาน เรื่องการติดตั้งประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2) ศึกษาความสามารถของนักเรียนเรื่องการติดตั้งประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยจับฉลาก (Simple Random) จำนวน  30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้  บทเรียนแบบผสมผสาน แบบวัดผลการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถ  และแบบสอบถามความพึงพอใจ  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า         1)  ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสาน เรื่องการติดตั้งประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2) ผลความสามารถการปฏิบัติงานการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ของนักเรียนมีอยู่ในระดับดีมาก 3) ผลความพึงพอใจของของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสาน อยู่ในระดับดีมาก

Abstract

The purposes of this research were: 1) to compare before and after achievement of the students in Business Computer Program who learned assembly computer subject with the Blended Learning, 2) to study the practice on assembling computer, and 3) to study students’ satisfaction toward the Blended Learning. The sample used in this study consisted of 30 certificate level students of Nakhonpathom Vocational College, major in computer business who were studying in Semester 1, Academic year 2013. They were selected with a simple random. The research instruments were blended learning lesson plans, tests, ability assessments, and satisfaction questionnaires. The data were statistically analyzed using the mean, standard deviation, and dependent T-Test. The results of the research were as follows: 1) The comparison outcome on before and after achievement of the vocational certificate level students in business computer program learning through the  Blended Learning taught by Cooperative Learning of assembly computer subject showed a significant difference statistically significant at the .05 level by scoring achievement posttest higher than pretest. 2) The result on the practice of computer assembling was in a very good level , and 3) The result of students’ satisfaction study toward the Blended Learning was in a high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ