อัตลักษณ์ของเยาวชนตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย (The Identities of Youth in Nang Lae Sub-district, Muang District, Chiang Rai Province)

Main Article Content

นาวิน พรมใจสา (Nawin Promjisa)
เลหล้า ตรีเอกานุกูล (Lelar Treeaekanukul)
ทิพวรรณ เมืองใจ (Tippawan Muangjai)

Abstract

                    การวิจัยครั้งนี้เป็นวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของเยาวชนตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ แกนนำเยาวชนจากสภาเด็กและเยาวชน ผู้ปกครองเยาวชน ผู้นำชุมชนตำบลนางแล  บุคลากรทางการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน จำนวนทั้งสิ้น 76 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้คือ การศึกษาจากเอกสารในเรื่องที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อเท็จจริงด้านอัตลักษณ์ และเยาวชนพหุวัฒนธรรมโดยยึดตามกรอบแนวคิดของการวิจัย วิธีการสังเกตทั้งอย่างมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม  โดยกรอบคำถามของการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นแนวคำถามปลายเปิดที่สามารถปรับได้ตามบริบทของพื้นที่ศึกษาและปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นมีการตรวจคุณภาพเครื่องมือวิจัย โดยผู้รู้ด้านอัตลักษณ์ของเยาวชน การจัดทำกับข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาด้วยการบรรยายและพรรณนา ตามกรอบแนวคิดของการทำวิจัย ผลการวิจัย พบว่า อัตลักษณ์ของเยาวชน ตำบลนางแลอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 1. อัตลักษณ์บุคคล ได้แก่ ความขยันหมั่นเพียรความสามารถในการปรับตัวความอยากรู้อยากเห็น และจิตสาธารณะ และ 2. อัตลักษณ์ทางสังคม ได้แก่ ด้านภาษาและด้านวัฒนธรรมและประเพณี


 


                  This is a qualitative research that aims to study the identity of youth in Nang Lae Sub-District, Muang District, Chiang Rai Province. There were 76 informants in total, including the Youth and Children Council leaders, guardians, Nang Lae Sub-district community leader, educational personnel and relevant public and private agencies, selected using the purposive sampling method. Instruments utilized in the data collection included reviews of relevant documents, identity facts, and the youths based on the research framework, participant and non-participant observation, and focus group. The questions included were flexible open-ended questions that could be adjusted to suit the context of the study area and social and cultural phenomena. Quality of the research instruments was reviewed by youth identity experts, data management and analysis using content analysis through narration and description within the research framework. It was found that the identity of youths in Nang Lae Sub-District, Muang, Chiang Rai included: 1) Personal identity – diligence, adaptability, curiosity, public consciousness and 2) Social identity – language, culture and tradition.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts