การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับพลังคำถาม (The Development Of Reading Comprehension Ability Of Mathayomsuksa 1 Students By Using Sq4r Technique And Power Question)

Main Article Content

จุฬารัตน์ อินทร์อุดม (Chularat Inudom)
ณัฐกิตติ์ สิริวัฒนาทากุล (Natthakit Siriwatthanathakun)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental  Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับพลังคำถาม 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับพลังคำถามกับเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 80 และ3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับพลังคำถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 1/2  ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวัดนิยมธรรมวราราม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม (Unit of Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับพลังคำถาม 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญ 3) แบบสอบถาม ความคิดเห็นของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน (t-test dependent) วิเคราะห์เกณฑ์ร้อยละ 80 แบบ One Sample t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


            ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับพลังคำถามหลังเรียน ( gif.latex?\bar{x}= 25.03 , S.D. = 1.96) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน (gif.latex?\bar{x}= 17.43, S.D. = 2.51) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถด้านการอ่าน จับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับ พลังคำถาม คิดเป็นร้อยละ 83.43 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญ และความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคSQ4R ร่วมกับพลังคำถาม โดยภาพรวม    มีระดับความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.53, SD = 0.18)


 


               The purposes of experimental designs were to: 1) compare reading comprehension ability of Mathayomsuksa1 students between before and after learning management by using SQ4R technique and power question 2) compare reading comprehension ability of Mathayomsuksa1 students after learning management by using SQ4R technique and power question with the criteria of 80 percentage 3) investigate the opinion of Mathayomsuksa1 student on learning management for using SQ4R technique and power question. The simple group of 30 Mathayomsuksa1/2 students of Watniyomthamwararam school in the first semester of the academic year of 2018 were selecting in this student by cluster random sampling.


            The research instrument were 1) lesson plan about reading comprehension by using SQ4R technique and power question 2) reading comprehension ability test 3) Questionnaire on learning management by using SQ4R technique and power question. Statistic in this research uses the average value, standard deviation, t-test dependent, One Sample t-test and Content analysis.


            The result of this study were as follows ; the outcomes of reading comprehension ability of Mathayomsuksa1 students after using SQ4R technique and power question ( gif.latex?\bar{x}= 25.03 , S.D. = 1.96) were higher than before using SQ4R technique and power question ( gif.latex?\bar{x}= 17.43, S.D. = 2.51). The scores were statistically significant difference at .05. The reading comprehension ability achievement of Mathayomsuksa1 students after learning management by using SQ4R technique and power question had an average score 83.43 percentage higher than the criteria significantly. The opinion of Mathayomsuksa1 students on studying by using SQ4R technique and power question were highly positive. (gif.latex?\bar{x} = 4.53, SD = 0.18)

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts