การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแบ่ง กลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) (The development of problem solving ability and mathematics achievement of Mathayomsuksa 2 students based on Student Teams Achievement Division (STAD) )

Main Article Content

พชรพงศ์ นวลศิริ (Potcharapong Nualsiri)
ชวลิต บุญปก (Chawalit Boonpok)

Abstract

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) กับเกณฑ์ร้อยละ 75 (4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 (5) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 43 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 จำนวน 43 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสุรพินท์พิทยา อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์


               ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ  80.79/80.23 และ 78.96/75.70 ตามลำดับ 2) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) มีค่าเท่ากับ 0.6816 และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ มีค่าเท่ากับ 0.6314 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) คิดเป็นร้อยละ 80.23 และความสามารถในการแก้ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 76.28 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ คิดเป็นร้อยละ 75.70 และความสามารถในการแก้ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 75 5) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 


             The purposes of this research were (1) to develop the lesson plans learning activities on Pythagorean Theorem of Mathayomsuksa 2 students Learning activities based on Student Teams Achievement Division (STAD) and the regular learning management, the efficiency criteria of 75/75, (2) to study an effectiveness index of plans for the organization of Mathematics Learning activities on Pythagorean Theorem of Mathayomsuksa 2 students Learning activities based on Student Teams Achievement Division (STAD) and the regular learning management, (3) to compare the mathematical learning achievement and problem solving ability on Pythagorean Theorem of Mathayomsuksa 2 students Learning activities based on Student Teams Achievement Division (STAD) with 75 percent criteria, (4) to compare the mathematical learning achievement and problem solving ability on Pythagorean Theorem of Mathayomsuksa 2 students Learning activities based on the regular learning management with 75 percent criteria, (5) to compare the mathematical learning achievement and problem solving ability on Pythagorean Theorem of Mathayomsuksa 2 students Learning activities based on Student Teams Achievement Division (STAD) and the regular learning management. The sample groups used in this study were 43 students of Mathayomsuksa 2/2 and 43 students of Mathayomsuksa 2/4 at second semester of academic year 2018 of Suraphinpittaya School, Lamduan, Surin province. The sample selected randomly through cluster random sampling. The study instruments were lesson plans based on Student Teams Achievement Division (STAD) and lesson plans of the regular learning management the mathematical learning achievement test and the mathematical problem solving ability test.


               The result of research appeared that 1) The lesson plans learning activities on Pythagorean Theorem of Mathayomsuksa 2 students Learning activities based on Student Teams Achievement Division (STAD) and the regular learning management were 80.79/80.23 and 78.96/75.70, respectively. 2) The effectiveness index of plans learning activities based on Student Teams Achievement Division (STAD) were 0.6816 and the effectiveness index of plans the regular learning management were 0.6314 3) Mathematics learned achievement based on Student Teams Achievement Division (STAD) were 80.23 percent and problem solving ability were 76.28 percent. 4) Mathematics learned achievements based on the regular learning management were 75.70 percent and problem solving ability were 75 percent. 5) The students who learned activities based on Student Teams Achievement Division (STAD) showed gains achievement on Pythagorean Theorem than those learned on the regular learning management at .05 level of significance.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts