ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: เมนทัล ดิสทอร์ชัน สำหรับวงวินด์ซิมโฟนี (Doctoral Music Composition : “Mental Distortion For Wind Symphony”)

Main Article Content

นิธิ จันทร์ชมเชย (Nithi Junchomchaey)
ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร (Narongrit Dhamabutra)

Abstract

               บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์ เมนทัล ดิสทอร์ชัน (Mental Distortion) เป็นบทประพันธ์สำหรับวงวินด์ ซิมโฟนี มีจุดประสงค์ เพื่อนำเสนอลักษณะของโรคทางจิตเวชที่มีสาเหตุมาจากความเครียด ทั้งการแสดงออกด้านอารมณ์และกายภาพ อันมีเอกลักษณะเฉพาะของแต่ละโรค โดยผู้วิจัยได้เลือกโรคทางจิตเวชที่มีการพบมากในปัจจุบัน ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ  โรคแพนิค และโรคไบโพลาร์


               ในการสร้างสรรค์บทประพันธ์นี้ ผู้วิจัยได้ทำการตีความอาการของแต่ละโรคด้วยการใช้วัตถุดิบ และเทคนิคการประพันธ์เพลงร่วมสมัย ผ่านการสร้างสรรค์ของผู้วิจัยเอง เพื่อแสดงออกถึงอาการของแต่ละโรคที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ โดยบทประพันธ์นี้แบ่งออกเป็น 5 กระบวนได้แก่ จิตที่ถูกบิดเบือน ซึมเศร้า กดดัน ตระหนก และแปรปรวน


               จากการสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงเมนทัล ดิสทอร์ชัน สำหรับวงวินด์ซิมโฟนี ผู้วิจัยได้บทประพันธ์ดนตรีตะวันตกร่วมสมัยในลักษณะดนตรีพรรณาที่มีการแสดงออกถึงเอกลักษณ์เฉพาะของโรคทางจิตเวชที่มีสาเหตุจากความเครียด


 


                The doctoral composition "Mental Distortion" is a composition for wind symphony that intends to present the characteristics of mental disorders which caused by stress. The piece focuses on uniques of mental disorder's expression both physical and emotional that could be found regularly in modern times which are Major Depressive Disorder, Obsessive Compulsive Disorder, Panic and Bipolar Disorder.


               To compose this piece, the researcher interpreted each mental disorder symptom by using materials and contemporary compositional techniques in order to express specifically. The interpretation transforms into 5 movements which are Mental distortion, Depressive, Pressuring, Panic and Indeterminate. 


               According to music composing process, the composition is a program music for wind symphony that represents the character of the selected mental disorders.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts