รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยคุณลักษณะเชิงจิตวิทยาที่ส่งผลต่อความตั้งใจ ที่จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลรุ่นเยาว์ของนักศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ (The Causal Relationship Model of Factors of Psychological Characteristics affecting the Youth Digital Business Entrepreneurial Intention among BBA Students)

Main Article Content

ธาดาธิเบศร์ ภูทอง (Thadathibesra Phuthong)
น้องหญิง สุมาลัย (Nongying Sumalai)

Abstract

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยคุณลักษณะเชิงจิตวิทยาที่มีผลกระทบต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลรุ่นเยาว์ของนักศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ และรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยคุณลักษณะเชิงจิตวิทยาที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลรุ่นเยาว์ของนักศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งพัฒนามาจากการทบทวนวรรณกรรม และการตรวจสอบความเชื่อมั่น โดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค แบบสอบถามได้กระจายแก่กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านการบริหารธุรกิจ จำนวน 153 คน จากนั้นทำการวิเคราะห์โมเดลการวัด และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างก่อนการทำการตรวจสอบสมมติฐานด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (Partial Least Square: PLS) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SmartPLS


            ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยคุณลักษณะเชิงจิตวิทยาที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลรุ่นเยาว์ของนักศึกษาด้านการบริหารธุรกิจมากที่สุด คือ ความต้องการความสำเร็จ โดยการคิดเชิงนวัตกรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อความต้องการความสำเร็จ และยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลรุ่นเยาว์ของนักศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ และความอดทนต่อความไม่ชัดเจนมีอิทธิพลทางตรงต่อความต้องการความสำเร็จ และยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลรุ่นเยาว์ของนักศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ นอกจากนี้ ความต้องการความสำเร็จยังมีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลรุ่นเยาว์ของนักศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ ในขณะที่การคิดเชิงนวัตกรรมและความอดทนต่อความไม่ชัดเจนไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลรุ่นเยาว์ของนักศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ โมเดลสมการโครงสร้างสามารถอธิบายผลของความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลรุ่นเยาว์ของนักศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ ได้ร้อยละ 21.70 (R2=0.217,R2adj=0.201) จากผลการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการศึกษา หน่วยบ่มเพาะธุรกิจ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเพิ่มระดับความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลรุ่นเยาว์ของนักศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ โดยผ่านความต้องการความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการคิดเชิงนวัตกรรมและความอดทนต่อความไม่ชัดเจน ตามลำดับ


 


            This research set to study the effect of psychological factors on youth digital business entrepreneurial intention among BBA students and a causal model of factors of psychological characteristics affecting the youth digital business entrepreneurial intention among BBA students. The study used a questionnaire developed by reviewing the literature and testing the reliability using coefficient alpha. The questionnaire was distributed to 153 samples of BBA students. Then analysis the measurement model and structural equation modeling before hypotheses testing by Partial Least Square Structural Equation Modeling (Partial Least Square: PLS-SEM) with SmartPLS software.


            The results found that the most influential psychological factor affecting youth digital business entrepreneurial intention among BBA students is need for achievement. Which the innovative thinking directly affected need for achievement and indirectly influenced youth digital business entrepreneurial intention among BBA students. And the tolerance for ambiguity directly affected need for achievement and indirectly influenced youth digital business entrepreneurial intention among BBA students. In addition found that the need for achievement directly affected youth digital business entrepreneurial intention among BBA students. While the innovative thinking and tolerance for ambiguity did not directly affect the youth digital business entrepreneurial intention among BBA students. The structural equation model can explain youth digital business entrepreneurial intention among BBA students at 21.70 percent (R2=0.217, R2adj=0.201). The results of this research are beneficial to educational institution, business incubator and stakeholder to increase the youth digital business entrepreneurial intention among BBA students through the need for achievement by innovative thinking and tolerance for ambiguity, respectively.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts
Author Biography

ธาดาธิเบศร์ ภูทอง (Thadathibesra Phuthong), คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร 1 หมู่ 3 ต. สามพระยา อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี 76120